![]() |
สารต้านราก่อโรคจาก Bacillus sp. N1 ต่อ Curvularia sp. ที่คัดแยกจากปทุมมา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | สารต้านราก่อโรคจาก Bacillus sp. N1 ต่อ Curvularia sp. ที่คัดแยกจากปทุมมา |
Creator | กนิฏฐกา แดนราช |
Contributor | ปาหนัน เริงสำราญ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2553 |
Keyword | โรคเกิดจากเชื้อราในพืช, สารต้านเชื้อรา, สารสกัดจากพืช, ปทุมมา, Fungal diseases of plants, Antifungal agents, Plant extracts, Siam Tulip |
Abstract | Bacillus subtilis N1 ที่คัดแยกได้จากดินในจังหวัดกาญจนบุรีมีความสามารถในการยับยั้ง การเจริญของ Curvularia sp. ซึ่ง เป็นราก่อโรคใบจุด (โรคจุดสีน้ำ ตาล) ในปทุมมา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาภาวะที่เหมาะสมที่สุดต่อการผลิตสารยับยั้ง ราและการแยกสารให้บริสุทธิ์จากการแปรผันปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อาหารเลี้ยงเชื้อ (NB, LB และ TSB), pH ของอาหารเลี้ยงเชื้อ (pH 6, 7, 8 และ 9), อุณหภูมิในการเพาะเลี้ยง (30, 37 และ 40 องศาเซลเซียส) และระยะเวลาการเพาะเลี้ยง (0 ถึง 24 ชั่วโมง) พบว่าภาวะที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ B. subtilis N1 คือการเลี้ยง ในอาหาร TSB pH 7 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ให้ประสิทธิภาพในการยับยั้ง การเจริญของรา Curvularia sp. ได้ดีที่สุด ซึ่ง B. subtilis N1 สร้างสารออกฤทธิ์ต่อCurvularia sp. ในรูปแบบที่ไม่สัมพันธ์กับการเจริญ (non-growth associated product) เพราะสารดังกล่าวผลิตออกมาในระยะ stationary phase สารออกฤทธิ์นี้ ยังทนต่ออุณหภูมิได้ตั้งแต่ 20 ถึง 121 องศาเซลเซียสและทนค่า pH ได้ตังF แต่ pH 2 ถึง 10 การตกตะกอนโปรตีนด้วยแอมโมเนียมซัลเฟตในช่วง 20 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์เป็นวิธีแยกสารออกฤทธิ์ที่ดีที่สุดสำหรับ B. subtilis N1 ซึ่งโปรตีนมีแอกติวิตีจำเพาะ 379.82 AU ต่อมิลลิกรัมของโปรตีน หลังจากทำ SDS-PAGE พบโปรตีนที่มีน้ำ หนักโมเลกุล 61.38, 41.98, 36.14 และ 22.13 กิโลดาลตัน โปรตีนในส่วนน้ำใสของเซลล์เพาะเลี้ยง B. subtilis N1 ยับยั้ง การเจริญของ Curvularia sp. ด้วยความเข้มข้นต่ำสุด 350 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรและโปรตีนกึ่งบริสุทธิ์ที่ได้จากการตกตะกอนด้วยแอมโมเนียมซัลเฟตในช่วง 20 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์มีประสิทธิภาพมากขึ้น 14 เท่าในการยับยั้ง Curvularia sp. โดยมีความเข้มข้นต่ำสุด 23.43 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ทำให้เส้นใยของ Curvularia sp. มีความหนามากขึ้น บวมเป็นปล้องและบางบริเวณบวมเป็นก้อนกลมขนาดใหญ่ ผลจากการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าสามารถนำสารออกฤทธิ์ที่ผลิตได้ไปพัฒนาเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของ Curvularia sp. ในแปลงเพาะปลูกปทุมมาเพื่อทดแทนการใช้สารเคมีได้ต่อไป |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |