ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ hypoxia กับการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผนังช่องท้องจากการรักษาทดแทนไตทางช่องท้องอย่างถาวร
รหัสดีโอไอ
Title ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ hypoxia กับการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผนังช่องท้องจากการรักษาทดแทนไตทางช่องท้องอย่างถาวร
Creator วศิน มนูประเสริฐ
Contributor เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2553
Keyword ไต -- โรค, ไตวายเรื้อรัง -- การรักษา, เยื่อบุช่องท้อง, Kidneys -- Diseases, Chronic renal failure -- Treatment, Peritoneum
Abstract วัตถุประสงค์ เนื่องจากในผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตทางช่องท้องอย่างถาวรมาเป็นระยะเวลานานนั้น พบการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผนังช่องท้อง ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้เป็นการความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ hypoxia กับการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผนังช่องท้อง โดยทำการศึกษาทั้งในเซลล์เพาะเลี้ยงและสัตว์ทดลอง วิธีการศึกษา การศึกษาในสัตว์ทดลองได้แบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ได้รับน้ำยาฟอกไตทางช่องท้อง 4.25% dextrose และกลุ่ม hypoxia-mimic โดยทำการศึกษาเป็นเวลา 12 สัปดาห์ แล้วทำการประเมินทางสัณฐานของเยื่อบุผนังช่องท้อง นับจำนวนหลอดเลือดที่พบ และศึกษาการเกิดภาวะ hypoxia ส่วนการศึกษาในเซลล์เพาะเลี้ยงนั้น ได้ทำการเพาะเลี้ยง mesothelial cells แล้วแบ่งเซลล์เพาะเลี้ยงออกเป็น 13 กลุ่ม นำเซลล์ไปบ่มกับน้ำยาฟอกไตทางช่องท้องและองค์ประกอบของน้ำยาจากนั้นทำการศึกษาการเกิดภาวะ hypoxia ผลการศึกษา จากการประเมินทางสัณฐานของเยื่อบุผนังช่องท้องนั้นพบว่าในหนูกลุ่มที่ได้รับน้ำยาฟอกไตทางช่องท้องนั้นมีจำนวนหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น พบการหนาตัวของชั้น submesothelium พบการหลุดลอกของ mesothelial cells และพบการเกิดภาวะ hypoxia เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และในเซลล์เพาะเลี้ยงพบว่าเซลล์ที่สัมผัสกับน้ำยาฟอกไตทางช่องท้องนั้นพบการเกิดภาวะ hypoxia ซึ่งภาวะ hypoxia นี้เป็นผลอันเนื่องมาจากการสะสมขององค์ประกอบต่างๆ ในน้ำยาฟอกไตทางช่องท้อง โดยองค์ประกอบหลักในน้ำยาฟอกไตทางช่องท้องที่ส่งผลให้เกิดภาวะ hypoxia ได้แก่ปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่สูงและสารในกลุ่ม GDPs สรุปผลการศึกษา น้ำยาฟอกไตทางช่องท้องนั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะ hypoxia ซึ่งภาวะ hypoxia นี้เป็นผลอันเนื่องมาจากการสะสมขององค์ประกอบต่างๆ ในน้ำยาฟอกไตทางช่องท้องโดยองค์ประกอบของน้ำยาฟอกไตทางช่องท้องที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะ hypoxia มากที่สุดนั้นคือ ปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่สูงและสารในกลุ่ม GDPs
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ