![]() |
แหล่งกำเนิดและความเข้มข้นของสารประกอบอินทรีย์ระเหยในอาคารสำนักงานในกรุงเทพมหานคร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | แหล่งกำเนิดและความเข้มข้นของสารประกอบอินทรีย์ระเหยในอาคารสำนักงานในกรุงเทพมหานคร |
Creator | รัฐเขต มูลรินต๊ะ |
Contributor | ศิริมา ปัญญาเมธีกุล, มณีรัตน์ องค์วรรณดี |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2552 |
Keyword | สารประกอบอินทรีย์, อาคารสำนักงาน -- ไทย -- กรุงเทพฯ, อาคารสำนักงาน -- วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, สารระเหยอินทรีย์ |
Abstract | งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาแหล่งกำเนิดและความเข้มข้นของสารอินทรีย์ระเหย (สารวีโอซี) และอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศภายในอาคารสำนักงานในกรุงเทพมหานครจำนวน 17 ตึก ในช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม 2552 ทำการเก็บตัวอย่างสารวีโอซีด้วยหลอดเก็บตัวอย่างชนิดเรซินเทเน็กซ์ (Tenax-TA[superscript TM] sorbent tube) ต่อกับปั๊มเก็บตัวอย่างชนิดพกพาด้วยอัตราการดูดอากาศ 0.04 ลิตร/นาที ในช่วงเวลา 10:00-12:00 น. และ 13:00-15:00 น. เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ทำการเก็บตัวอย่าง 3 จุด ได้แก่ ภายในอาคาร 2 จุด ภายนอกอาคาร 1 จุด ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างด้วยเครื่อง Thermal desorption/gas chromatrography-mass spectrometer (TD/GC-MS) ทำการศึกษาสารวีโอซีจำนวน 13 ชนิด พบว่าสารโทลูอินมีค่าความเข้มข้นเฉลี่ยสูงสุดทั้งภายในและภายนอกอาคารเท่ากับ 110.19 และ 43.61 มค.ก./ลบ.ม. รองลงมาได้แก่ ไลโมนีน เอ็ม/พี-ไซลีน เอทธิลเบนซิน และ โอ-ไซลีน มีค่าความเข้มข้นเฉลี่ยภายในอาคารเท่ากับ 73.53, 12.20, 12.09 และ 9.63 มค.ก./ลบ.ม. ตามลำดับ วัดอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศของอาคาร (air exchange rate) ด้วยวิธี constant injection โดยใช้สารเฮกซะฟลูออโรเบนซิน (hexafluorobenzene) เป็นสารตามรอย (tracer gas) พบว่าอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.017-1.16 ชั่วโมง⁻¹ ทั้งนี้ร้อยละ 94 ของตึกตัวอย่างมีอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศต่ำค่ามาตรฐาน 0.67 ชั่วโมง⁻¹ (พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522) นอกจากนี้พบว่าสัดส่วนความเข้มข้นเฉลี่ยของสารวีโอซีภายในอาคารเปรียบเทียบกับภายนอกอาคาร (I/O ratio) มีค่าอยู่ในช่วง 1.68-12.29 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าแหล่งกำเนิดสารวีโอซีภายในอาคารมีความสำคัญมากกว่าการแพร่ของสารวีโอซีจากภายนอกตัวอาคารเข้าสู่ภายในอาคาร |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |