การกำจัดสีเบสิกโดยใช้เส้นใยปาล์มที่ผ่านการปรับสภาพ
รหัสดีโอไอ
Title การกำจัดสีเบสิกโดยใช้เส้นใยปาล์มที่ผ่านการปรับสภาพ
Creator ชาริณี ม่วงคลองใหม่
Contributor เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2551
Keyword น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสี, ปาล์ม, Sewage -- Purification -- Color removal, Palms
Abstract การวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกำจัดสีย้อมเบสิกของเส้นใยปาล์มที่ไม่ปรับสภาพ เส้นใยปาล์มที่ปรับสภาพด้วยกรดซัลฟิวริก เส้นใยปาล์มที่ปรับสภาพด้วยฟอร์มัลดีไฮด์ และเส้นใยปาล์มที่ปรับสภาพด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ทำการทดลองแบบทีละเท โดยใช้เครื่องเขย่าที่ความเร็ว 160 รอบต่อนาที เป็นระยะเวลา 120 นาที ใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่เตรียมจากสีย้อมเบสิก 2 ชนิด คือ มาลาไคท์กรีน และเมทิลีนบลู ที่ความเข้มข้น 250 มิลลิกรัมต่อลิตร ศึกษาประสิทธิภาพและสภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดสีย้อมและลักษณะสมบัติของเส้นใยปาล์มทางกายภาพและทางเคมี จากผลการศึกษาพบว่าเส้นใยปาล์มที่ปรับสภาพด้วยกรดซัลฟิวริกนั้นมีประสิทธิภาพในการกำจัดสีสูงสุด โดยกำจัดสีมาลาไคท์กรีนและเมทิลีนบลูได้ร้อยละ 99.50 และ 98.20 ตามลำดับ โดยสภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับ คือ ช่วงพีเอช 6.0-9.0 ระยะเวลาการสัมผัส 120 นาที ที่ความเข้มข้นสีเริ่มต้น 250 มิลลิกรัมต่อลิตร และใช้ปริมาณตัวดูดซับ 0.4 กรัมต่อน้ำเสียสังเคราะห์ 100 มิลลิลิตร ความเร็วรอบในการเขย่า 160 รอบต่อนาที ปัจจัยที่ทำการศึกษาส่งผลต่อประสิทธิภาพในการกำจัดสี โดยประสิทธิภาพในการกำจัดสีของเส้นใยปาล์มที่ปรับสภาพลดลง เมื่อความเข้มข้นเริ่มต้นของสีเพิ่มขึ้น และผลของพีเอชมีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นเริ่มต้น ปริมาณตัวดูดซับ และระยะเวลาการสัมผัส จากการทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวของสารดูดซับ สามารถอธิบายได้ด้วยไอโซเทอมแบบแลงเมียร์ และความสามารถในการดูดซับมาลาไคท์กรีนและเมทิลีนบลู เท่ากับ 63.11 และ 67.83 มิลลิกรัมต่อกรัมของสารดูดซับ ตามลำดับ ผลการศึกษาลักษณะทางกายภาพของเส้นใยปาล์มที่ปรับสภาพ พบว่า พื้นที่ผิวของเส้นใยปาล์มและขนาดรูพรุนที่เกิดจากการปรับสภาพเส้นใยปาล์มด้วยวิธีต่างๆ มีความใกล้เคียงจากเส้นใยปาล์มที่ไม่ปรับสภาพ แต่จากการศึกษาพื้นผิว เส้นใยปาล์มที่ปรับสภาพด้วยกรดซัลฟิวริกมีรูพรุนจำนวนมากและมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ และจากการวิเคราะห์โครงสร้าง พบว่า หมู่ฟังก์ชั่นของ หมู่ไฮดรอกซิล คาร์บอนิล อัลคิล อัลคีน และซัลโฟนิกเอซิด ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซับสีย้อมอย่างมาก
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ