การศึกษาผลของการใช้ยากดภูมิคุ้มกันในการปลูกถ่ายเปลี่ยนไตในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
รหัสดีโอไอ
Title การศึกษาผลของการใช้ยากดภูมิคุ้มกันในการปลูกถ่ายเปลี่ยนไตในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Creator ผาณิต สุขโท
Contributor เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2551
Keyword โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วย, ไต -- การปลูกถ่าย, การรักษาด้วยยา, ไต -- โรค -- การรักษา
Abstract ที่มาการปลูกถ่ายไตเป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ทำให้ชีวิตยืนยาวดีกว่าการรักษาบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีอื่น และการใช้ยากดภูมิคุ้มกันแก่ผู้ป่วยปลูกถ่ายไตเป็นหัวใจสำคัญโดยจุดมุ่งหมายการใช้ยากดภูมิคุ้มกันคือป้องกันและรักษาการเกิดภาวะ acute rejection อย่างไรก็ตามใช้ยากดภูมิคุ้มกันที่ใช้ในผู้ป่วยปลูกถ่ายไตอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของการปลูกถ่ายไตทั้งระยะสั้นระยะยาวแตกต่างกัน และอาจให้ประสิทธิผลในการรักษาแตกต่างกัน ปัจจุบันไม่มียากดภูมิคุ้มกันแก่ผู้ป่วยปลูกถ่ายไตชนิดใดหรือสูตรใดที่มีคุณสมบัติในอุดมคติ ดังนั้นโดยรวมหลักการให้ยากดภูมิคุ้มกันแก่ผู้ป่วยแต่ละรายโดยพิจารณาเลือกใช้ยาแก่ผู้ป่วยเป็นรายๆตามเหตุและความจำเป็นมากกว่าการใช้ชนิดยาหรือสูตรยาตายตัว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการรักษาผู้ป่วยปลูกถ่ายไตที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกันแต่ละชนิดหรือแต่ละสูตรยาเพื่อพิจารณาความแตกต่างเกี่ยวกับ patient survival, graft survival, acute rejection, renal function ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา ข้อมูลของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและได้รับการปลูกถ่ายไตจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทั้งหมดจำนวน 177 รายได้ถูกนำมาวิเคราะห์จากฐานข้อมูลหน่วยไตโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โดย แบ่งกลุ่มผู้ป่วยได้รับยา induction เปรียบเทียบกับไม่ได้รับยา induction,กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา cyclosporine เปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา tacrolimus ,กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา azathiopine เปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา myclophenolate mofetil, เปรียบเทียบกลุ่มผุ้ป่วยที่ได้รับยาสูตรแต่ละสูตรกล่าวคือผู้ป่วยที่ได้รับยา CsA + AZA, CsA+MMF, Tacrolimus+ AZA หรือ MMF, minimize CsA + sirolimusผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานระหว่างผู้ป่วยที่ได้ยา induction มี cold ischemic time (681 + 542 นาที vs 504 + 469 นาที; p=0.02) และ expanded creteria donor(36% vs 9% ; p=0.01) มากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา induction ผู้ป่วย,กลุ่มผุ้ป่วยที่ได้รับยา CsA ,Tacrolimus, AZA, MMF,และ sirolimus พบว่าไม่มีความแตกต่างของ acute rejection rate ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้ cyclosporine และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้ tacrolimus ( 6.1 % vs 13.3 %; p=0.6) และไม่พบความแตกต่างของ การทำงานของไตวัดโดย eGFR, serum creatinine และ allograft survival ที่ปีที่1, 3 และ 5 หลังการปลูกถ่ายไตเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มยา สรุปผลการศึกษา ประสิทธิผลของยากดภูมิคุมกันในแต่ละสูตรไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องการทำงานของไต และ graft survival
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ