![]() |
การปรับปรุงและเฝ้าติดตามคุณภาพในกระบวนการก่อสร้างบ้านโดยประยุกต์ใช้หลักการ QFD และ FMEA |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การปรับปรุงและเฝ้าติดตามคุณภาพในกระบวนการก่อสร้างบ้านโดยประยุกต์ใช้หลักการ QFD และ FMEA |
Creator | หทัยรัตน์ สงวนไทร |
Contributor | ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2550 |
Keyword | การกระจายการทำงานเชิงคุณภาพ, การสร้างบ้าน -- การควบคุมคุณภาพ |
Abstract | วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงการก่อสร้างบ้าน โดยประยุกต์ใช้หลักการของเทคนิคการกระจายหน้าที่ (Quality Function Deployment: QFD) และเทคนิคการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบด้านคุณภาพ (Failure Mode and Effect Analysis: FMEA) จากปัญหาของบริษัทตัวอย่างคือมีการส่งมอบบ้านให้ลูกค้าล่าช้าเนื่องจากมีการแก้ไขงานบ่อยครั้งจนเกินเวลาก่อสร้างที่กำหนด ส่งผลให้มีการสูญเสียทั้งทรัพยากร เงินทุนและเวลา จากการศึกษากระบวนการก่อสร้างบ้าน ตลอดจนของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการโดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ของเสียส่วยใหญ่เกิดจาก 6 งาน คือ งานกระเบื้อง งานสี งานหลังคา งานบันได งานปาร์เก้และงานห้องน้ำ งานวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของงานที่ต้องการกับขั้นตอนการทำงานโดยใช้เทคนิค QFD ในงานวิจัยนี้ได้ใช้เทคนิค QFD ครอบคลุมเพียงเฟสวางแผนการผลิตเท่านั้น ผลลัพธ์ที่ได้คือ ขั้นตอนการทำงานที่มีความสัมพันธ์และสำคัญกับคุณภาพที่ต้องการเมื่องานเสร็จรวมถึงคุณภาพของงานเมื่อเทียบกับคู่แข่งเพื่อที่จะสามารถตั้งเป้าหมายการพัฒนาได้ถูกทิศทาง หลังจากได้นำ 6 งานดังกล่าวมาทำการศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นโดยอาศัยวิธีระดมสมอง และทำการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบด้านคุณภาพสำหรับกระบวนการผลิต (PFMEA) วิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้ทำการแก้ไขลักษณะข้อบกพร่องที่มีค่า RPN สูงสุด 3 ขั้นตอนแรกในแต่ละงาน หลังจากการปรับปรุงคุณภาพพบว่าค่าจำนวนบกพร่องต่อหน่วย (Defect per Unit: DPU) ลดลงจาก 216.18 DPU เหลือ 85.33 DPU หรือ ลดลง 60.53 % นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังมีการทำแผนการควบคุมการทำงานของขั้นตอนที่ได้ทำการปรับปรุง เพื่อเป็นการติดตามคุณภาพอย่างต่อเนื่อง |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |