![]() |
กลวิธีทางภาษาในการถามซัก ถามค้าน ถามติง ในการพิจารณาคดี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | กลวิธีทางภาษาในการถามซัก ถามค้าน ถามติง ในการพิจารณาคดี |
Creator | สรียา ทับทัน |
Contributor | ณัฐพร พานโพธิ์ทอง |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2543 |
Keyword | ภาษาไทย -- การใช้ภาษา, การถามซัก, การถามติง, การถามค้าน |
Abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาในการถามซัก ถามค้าน ถามติงในการพิจารณาคดีข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นบทสนทนาระหว่างทนายความกับพยานในคดีอาญา จำนวน 25 คดี ผลการศึกษาเรื่องกลวิธีทางภาษาพบว่า ทนายความใช้กลวิธีทางภาษาหลายวิธีเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการถามแต่ละช่วง ในการถามซักนั้น ทนายความใช้กลวิธีทางภาษา 7 กลวิธี ได้แก่ การขอให้แจ้งข้อมูล การทวนคำตอบ การใช้ประโยคสั้นๆ การเปลี่ยนคำถาม การตั้งคำถามต่อเนื่อง การถามย้ำ และการสรุปประเด็น กลวิธีที่ใช้ในการถามค้านพบทั้งสิ้น 11 กลวิธี ได้แก่ การเลือกใช้คำเพื่อให้น้ำหนักคำพยานน้อยลง การถามเกินกว่าอำนาจหน้าที่ การแย้งคำให้การ การสมมติ การถามตรงกันข้าม การคาดคั้นเอาคำตอบ การตัดบท การเปลี่ยนคำถาม การตั้งคำถามต่อเนื่อง การถามย้ำ และการสรุปประเด็น ส่วนกลวิธีที่ใช้ในการถามติง พบทั้งสิ้น 3 กลวิธี ได้แก่ การชี้นำคำตอบ การขอให้แจ้งข้อมูลและการทวนคำตอบ ทั้งนี้กลวิธีที่พบส่วนใหญ่เป็นกลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อถามให้ตอบ เมื่อศึกษาเรื่องถ้อยคำที่ใช้เพื่อถามนั้นพบว่า ทนายความใช้รูปประโยค 2 ชนิด คือรูปประโยคคำถามและรูปประโยคบอกเล่า ที่พบส่วนใหญ่อยู่ในรูปประโยคคำถาม เมื่อศึกษาเปรียบเทียบพบว่าการถามของทนายความฝ่ายที่อ้างพยานฝ่ายตน (ถามซัก ถามติง) กับการถามของทนายความฝ่ายตรงข้าม (ถามค้าน) มีความแตกต่างใน 3 เรื่องคือ ความแตกต่างเรื่องความร่วมมือในการสนทนา ความแตกต่างเรื่องกลวิธีทางภาษา และความแตกต่างเรื่องรูปประโยคที่ใช้เพื่อถาม กล่าวคือหากเป็นการถามพยานฝ่ายตน ทนายความและพยานให้ความร่วมมือในการสนทนาเป็นอย่างดี เพราะจุดมุ่งหมายไปในทิศทางเดียวกัน ทนายความจะใช้กลวิธีทางภาษาเพื่อให้พยานสามารถตอบคำถามได้ง่ายและตรงประเด็นที่สุด คำถามที่พบส่วนใหญ่คือคำถามแบบให้ตอบเนื้อความ ในขณะที่การถามพยานฝ่ายตรงข้ามนั้น พยานและทนายความให้ความร่วมมือน้อย กลวิธีที่ใช้ส่วนใหญ่จึงเป็นไปเพื่อจับพิรุธพยาน ทำลายความน่าเชื่อถือของพยานให้มากที่สุด และคำถามที่พบมากที่สุดคือคำถามแบบตอบรับ-ปฏิเสธ การศึกษาครั้งนี้ทำให้เห็นภาพรวมของการพิจารณาคดีในศาล คือ การสนทนาที่เกิดขึ้นในศาลนั้นเป็นการสนทนาที่เป็นระบบ มีวัตถุประสงค์ชัดเจน มีผู้ถามและผู้ตอบชัดเจน และจัดเตรียมประเด็นที่ต้องการถามไว้ล่วงหน้าแล้ว ทนายความจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ได้แก่ คู่สนทนา วัตถุประสงค์ของการถาม และบทบัญญัติของกฎหมาย ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการเลือกใช้กลวิธีทางภาษาและรูปประโยคที่ใช้เพื่อถามโดยตรง |
ISBN | 9741309392 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |