![]() |
เพลงชุดภูมิวัฒน์พัฒนศิลป์: การสร้างสรรค์เพลงค่านิยมองค์กร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | บำรุง พาทยกุล |
Title | เพลงชุดภูมิวัฒน์พัฒนศิลป์: การสร้างสรรค์เพลงค่านิยมองค์กร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ |
Contributor | วัชรมณฑ์ อรัณยะนาค |
Publisher | วารสารวิพิธพัฒนศิลป์ โครงการบัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารวิพิธพัฒนศิลป์ |
Journal Vol. | 2 |
Journal No. | 3 |
Page no. | 70-85 |
Keyword | ภูมิวัฒน์พัฒนศิลป์, การสร้างสรรค์เพลง, ค่านิยมองค์กร |
URL Website | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT |
Website title | วิพิธพัฒนศิลป์ |
ISSN | E-ISSN: 2730-3640 |
Abstract | บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์เพลงชุดภูมิวัฒน์พัฒนศิลป์ ประกอบด้วย เพลงนาฏศิลปาภิรมย์และเพลงภูมิวัฒน์พัฒนศิลป์ การสร้างสรรค์เนื้อร้องใช้คำประพันธ์ชนิดกลอนแปด มีการใช้การสัมผัสและลักษณะรูปแบบการประพันธ์ที่ใช้คำคล้องจองกันทั้งสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ การสร้างสรรค์มีการนำคำสัมผัสอักษรมาใช้ สัมผัสอักษร คือ คำคล้องจองที่ใช้พยัญชนะชนิดเดียวกัน ทำให้เกิดเสียงในการเล่นคำและสำเนียง เกิดเป็นท่วงทำนองดนตรีที่มีการไต่ระดับเสียงสูงต่ำ โดยบทเพลงมีเนื้อร้องเพลงละ 4 บทกลอน การสร้างสรรค์ทำนองเพลงชุดภูมิวัฒน์พัฒนศิลป์ ใช้หลักโครงสร้างเพลงไทยในการสร้างทำนองเพลง ยึดรูปแบบสังคีตลักษณ์ เป็นเพลง 2 ท่อน จังหวะหน้าทับเพลงไทย คือ หน้าทับปรบไก่ สองชั้น และหน้าทับจังหวะมาร์ช ที่นิยมใช้ในเพลงไทยสำเนียงฝรั่ง หรือกลุ่มเสียงตามแบบแผนของรูปแบบเพลงไทย เป็นการประพันธ์ด้วยวิธีการสร้างทำนองขึ้นมาใหม่จากแรงบันดาลใจและจินตนาการของผู้สร้างสรรค์เอง แต่ยังมีขนบแบบโบราณผสม สร้างทำนองกลุ่มเสียงให้อยู่ในกลุ่มเสียงปัญจมูล โดยเลือกใช้กลุ่มเสียง ด ร ม X ซ ล X และกลุ่มเสียง ซ ล ท X ร ม X มาสร้างทำนองเพลง เนื่องจากเป็นกลุ่มเสียงที่ทำให้สะดวกในการนำไปใช้บรรเลงและง่ายต่อการจดจำ |