![]() |
การจัดการปัญหาการนำยาแผนโบราณไปใช้ในทางที่ผิด: กรณีศึกษายาบำรุงร่างกายตราพญานาค |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | 1. นุชน้อย ประภาโส 2. วิมล สุวรรณเกษาวงษ์ |
Title | การจัดการปัญหาการนำยาแผนโบราณไปใช้ในทางที่ผิด: กรณีศึกษายาบำรุงร่างกายตราพญานาค |
Publisher | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Publication Year | 2560 |
Journal Title | วารสารเภสัชกรรมไทย |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 385-395 |
Keyword | ยาแผนโบราณ, แอลกอฮอล์, การใช้ยาในทางที่ผิด, การคุ้มครองผู้บริโภค, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา |
ISSN | 1906-5574 |
Abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อหาคำอธิบายถึงสิ่งที่เอื้อให้เกิดการนำยาบำรุงร่างกายตราพญานาคไปใช้ดื่มเพื่อให้เกิดความมึนเมา ประเมินความเสี่ยงของยานี้ในการทำให้เมาสุรา ตลอดจนเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้ยาแผนโบราณที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมในทางที่ผิด วิธีการ: การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ส่วนแรกเป็นการหาคำอธิบายถึงสิ่งที่เอื้อให้เกิดการนำยาบำรุงร่างกายตราพญานาคไปดื่มเพื่อความมึนเมา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกในเจ้าหน้าที่ซึ่งสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 11 คนซึ่งทำงานในพื้นที่ที่เคยพบปัญหาในการจำหน่ายยาดังกล่าวหรือยังพบปัญหาอยู่ จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี หนองบัวลำภู และศรีสะเกษ ร่วมกับการลงพื้นที่หาข้อมูลรูปแบบการขายยาในร้านขายยาและร้านชำจำนวน 4 ครั้ง รวมถึงการค้นข้อมูลเกี่ยวกับการโฆษณายาตัวนี้ทางเว็บไซด์ต่าง ๆ การศึกษาส่วนที่ 2 เป็นการประเมินความเสี่ยงของยาตัวนี้ โดยคำนวณระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่อาจเป็นไปได้เมื่อมีการใช้ยา การศึกษาส่วนที่ 3 เป็นการจัดทำข้อเสนอในการแก้ปัญหาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ของ อย. สสจ. และโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 7 คน รวมถึงมีการสนทนากลุ่มระหว่างหัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข 4 คนในเขตสุขภาพที่ 10 ผลการวิจัย: การนำยาบำรุงตัวนี้ไปใช้ในทางที่ผิด เกิดจาก 1. ปัจจัยของตัวผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ปริมาณแอลกอฮอล์ในตำรับยา และ 2. ปัจจัยภายนอกตัวผลิตภัณฑ์ 8 ประเด็น ได้แก่ ชื่อยาบำรุงร่างกาย รูปแบบฉลากที่คล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์อื่นที่ใกล้เคียง ฉลากระบุคำเตือนไม่ชัดเจน (สีพื้นของฉลากและตัวอักษรคำเตือนมีสีแดงเหมือนกัน) รูปแบบบรรจุภัณฑ์และขนาดบรรจุ รูปแบบการจำหน่าย ช่องทางการโฆษณาขายยาและการสั่งซื้อ การโฆษณาที่ทำให้เข้าใจถึงสรรพคุณที่ทำให้มีพละกำลัง (ผู้ชายยกแขนโชว์กล้ามเนื้อ) และการที่ประชาชนซื้อถวายพระสงฆ์เพื่อให้บำรุงร่างกาย การดื่มยาบำรุงร่างกายนี้ 1 ขวดในขนาดบรรจุ 150 มิลลิลิตรที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ประมาณ 15 กรัม/100 มิลลิลิตร คิดเป็น 2.25 ดื่มมาตรฐาน ซึ่งอาจทำให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 33.75 45 mg% ซึ่งใกล้เคียงกับค่า 50 mg% ซึ่งเป็นระดับที่กฎหมายถือว่าเมาสุรา ข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหา คือ 1) ออกกฎหมายเพื่อควบคุมปริมาณแอลกอฮอล์ในยาแผนโบราณและยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณให้เหมาะสม ตลอดจนทบทวนทะเบียนตำรับยาที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม 2) ออกกฎหมายบังคับการแสดงฉลากและคำเตือน โดยระบุสีพื้นและสีตัวอักษรชัดเจน 3) ออกระเบียบหรือข้อบังคับให้รูปแบบฉลากของยาแผนโบราณและยาสามัญประจำบ้านต้องมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะยาที่มีชื่อการค้าเดียวกัน 4) การดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และควบคุมการจำหน่ายยาแผนโบราณที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 5) การให้ความรู้เรื่องยาตัวนี้แก่พระสงฆ์ ร่วมกับกรมการศาสนา มหาเถรสมาคม และกลุ่มผู้บริโภค สรุป: การศึกษาทำให้ได้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาการใช้ยาบำรุงร่างกายตราพญานาคในทางที่ผิด ซึ่งอาจสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาการใช้ยาแผนโบราณในทางที่ผิดกรณีอื่น ๆ ได้ |