![]() |
ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการป้องกันการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล อันอาจก่อความเสียหายแก่บุคคล กรณีการครอบครองข้อมูลและการตระเตรียมที่จะเปิดเผยข้อมูล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | จิดาภา พรยิ่ง |
Title | ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการป้องกันการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล อันอาจก่อความเสียหายแก่บุคคล กรณีการครอบครองข้อมูลและการตระเตรียมที่จะเปิดเผยข้อมูล |
Contributor | ประทีป ทับอัตตานนท์ |
Publisher | สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย |
Publication Year | 2566 |
Journal Title | สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 186-198 |
Keyword | ข้อมูลส่วนบุคคล, ครอบครองข้อมูล, ตระเตรียมเปิดเผยข้อมูล, ป้องกัน |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/index |
Website title | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/268868 |
ISSN | 2985-2684 |
Abstract | พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มิได้บังคับใช้กับผู้ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นเอกชน โดยไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นมาตรา 4(1) จึงเกิดช่องว่างทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองของเอกชน โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายสาธารณรัฐสิงค์โปร์ สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐเกาหลี ด้วยเหตุว่าไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองของเอกชน ซึ่งผู้อื่นนั้นอาจกระทำการใดๆ แก่ข้อมูลนั้นได้ หากเกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลมีสิทธิเพียงเรียกร้องในมูลละเมิดเท่านั้น โดยเจ้าของข้อมูลไม่อาจใช้มาตรการกฎหมาย ในการตรวจสอบ แก้ไข ยกเลิกข้อมูลดังกล่าวได้ รวมถึงการมีข้อมูลส่วนบุคคลไว้ เตรียมใช้เพื่อการกระทำผิดในฐานเกี่ยวกับการเปิดเผย เผยแพร่ กระจายข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นความผิดทางอาญา และยังไม่มีกฎหมายใดกำหนดฐานตระเตรียมการกระทำความผิดไว้ จึงเห็นควรปรับปรุงและแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 บังคับใช้แก่ผู้ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยตนไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล ให้กฎหมายมีบทบาทเข้ามาคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงกำหนดลักษณะความผิดฐานตระเตรียมใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อการกระทำความผิดฐานแพร่กระจาย เผยแพร่ ส่งต่อซึ่งข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นมาตรการป้องกันการกระทำความผิดในฐานต่อไป |