![]() |
บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์กับสุขภาพช่องปาก: การทบทวนวรรณกรรม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ศรุตา แสงทิพย์บวร |
Title | บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์กับสุขภาพช่องปาก: การทบทวนวรรณกรรม |
Publisher | ศูนย์บริการสาธารณสุข 54 ทัศน์เอี่ยม 410 ถนนพุทธบูชา แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140 |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วิทยาสารทันตสาธารณสุข |
Journal Vol. | 29 |
Page no. | 83-97 |
Keyword | บุหรี่ไฟฟ้า, สุขภาพช่องปาก, โรคปริทันต์, โรคฟันผุ |
URL Website | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/index |
Website title | วิทยาสารทันตสาธารณสุข |
ISSN | E-ISSN 3027-7469 |
Abstract | บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ หรือบุหรี่ไฟฟ้า (electronic cigarette) เป็นผลิตภัณฑ์ที่กำลังได้รับความนิยม โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีฤทธิ์การสร้างอนุมูลอิสระ สารก่อมะเร็ง และสารประกอบคาร์บอนิลที่เป็นพิษที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ แต่ในด้านผลของบุหรี่ไฟฟ้าต่อสุขภาพช่องปากยังขาดการรวบรวมองค์ความรู้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมผลของการสูบบุหรี่ไฟฟ้าต่อสุขภาพช่องปาก การทบทวนวรรณกรรมนี้ดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2566 สืบค้นจากฐานข้อมูล PubMed และ Google Scholar ช่วงเวลาที่ตีพิมพ์จนถึงเดือนกันยายน 2566 วารสารที่ตีพิมพ์ด้วยภาษาอังกฤษและตีพิมพ์มาแล้วไม่เกิน 10 ปี จะถูกคัดเข้า ผลการทบทวนวรรณกรรมพบว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในช่องปากทั้งในน้ำลายและใต้เหงือก เกิดการอักเสบของเซลล์ในช่องปากโดยเพิ่มสารชักนำการอักเสบ นำไปสู่โรคปริทันต์ (OR: 1.43) โรคฟันผุ เนื้อเยื่อรอบรากฟันเทียมอักเสบ เกิดความล้มเหลวของการฝังรากฟันเทียม ส่งผลต่อการจัดฟัน เกิดรอยโรคในช่องปาก นอกจากนี้สารพิษในไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้าส่งผลต่อเซลล์ในช่องปากนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก และเกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื้อแข็งและเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากโดยเกิดแผลในช่องปาก (OR: 1.54) ฟันร้าวและฟันแตกจากวิธีการสูบ (OR: 1.65) ทันตบุคลากรเป็นผู้ที่พบและใกล้ชิดเด็กและเยาวชน เป็นผู้ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงสภาวะช่องปากของผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า สามารถให้คำปรึกษาแนะนำผลเสียของบุหรี่ไฟฟ้าและแนะนำให้เลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้า การรณรงค์ถึงผลเสียของบุหรี่ไฟฟ้าควรเพิ่มผลเสียของสุขภาพช่องปาก |