ความเหงาของผู้ป่วยโรคความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการเสพสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน
รหัสดีโอไอ
Creator ปรัชญา หาญพัฒนภูมิ
Title ความเหงาของผู้ป่วยโรคความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการเสพสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน
Contributor สันติชัย ฉ่ำจิตชื่น
Publisher โรงพยาบาลศรีธัญญา
Publication Year 2568
Journal Title วารสารโรงพยาบาลศรีธัญญา
Journal Vol. 18
Journal No. 1
Page no. 18-32
Keyword ความเหงา, ผู้ป่วยใน, สารเสพติด
URL Website https://srithanya.go.th/journal/pages/journal/index.php
Website title วารสาร โรงพยาบาลศรีธัญญา
ISSN 3057-1391
Abstract วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับ ประเภท และปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเหงาของผู้ป่วยโรคความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการเสพสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีธัญญาวัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยในโรคความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการเสพสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ผู้ป่วยเป็นผู้ตอบแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบวัด UCLA loneliness scale ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเหงาโดยสถิติ multiple ordinal logistic regressionผล : ผู้ป่วยทั้งหมดเป็นเพศชายจำนวน 184 คน อายุเฉลี่ย 32.0 ปี โดยส่วนใหญ่เสพสารเสพติดตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป (ร้อยละ 38.0) โดยยาบ้าและกัญชามีการใช้อย่างแพร่หลายที่สุด (ร้อยละ 59.8 และ 44.6 ตามลำดับ) ผลการศึกษาพบว่าความชุกของความเหงาในผู้ป่วยมีร้อยละ 95.7 โดยความเหงารวมทั้งทางอารมณ์และทางสังคมส่วนใหญ่พบอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 66.8, 63.0 และ 59.8 ตามลำดับ) การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหงาพบว่า ผู้ป่วยที่เสพสารเสพติดน้อยกว่า 6 ปีมีความเหงาน้อยกว่าผู้ที่เสพสารเสพติดนานกว่า 15 ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.02)สรุป : ผู้ป่วยสารเสพติดที่ได้รับการรักษาเป็นผู้ป่วยในพบความเหงาในผู้ป่วยเกือบทุกราย โดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ผู้ป่วยที่เสพสารเสพติดน้อยกว่า 6 ปีมีความเหงาน้อยกว่าผู้ที่เสพสารเสพติดนานกว่า 15 ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
โรงพยาบาลศรีธัญญา

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ