![]() |
การวิเคราะห์รูปแบบความสนใจเลือกอาชีพของผู้เรียนการแบบทดสอบตามทฤษฎีของจอห์น ฮอลแลนด์ ด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ปิยะนันท์ คงไพ่ |
Title | การวิเคราะห์รูปแบบความสนใจเลือกอาชีพของผู้เรียนการแบบทดสอบตามทฤษฎีของจอห์น ฮอลแลนด์ ด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล |
Contributor | จิรพันธุ์ ศรีสมพันธุ์, จรัญ แสนราช |
Publisher | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี |
Journal Vol. | 9 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 80-90 |
Keyword | ทฤษฎีของจอห์น ฮอลแลนด์, เทคนิคเหมืองข้อมูล, วิธีต้นไม้ตัดสินใจ, วิธีการเรียนรู้แบบเบย์, วิธีโครงข่ายประสาทเทียม, John Holland theory, Decision tree, Na?ve Bayes, Artificial Neural Network |
URL Website | http://www.sci.rmutt.ac.th/stj |
Website title | Science and Technology RMUTT Journal |
ISSN | 2229-1547 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสนใจเลือกอาชีพของผู้เรียนจากแบบทดสอบ ตามทฤษฎีของจอห์น ฮอลแลนด์ ด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล ผู้วิจัยได้นำข้อมูลจากนักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจจำนงค์ จำนวน 3,000 คน ซึ่งมีคุณลักษณะประกอบด้วย เพศ อายุ สาขาวิชา เกรดเฉลี่ยสะสม เป้าหมายทางการศึกษา ภูมิลำเนา อาชีพบิดามารดา และรายได้เฉลี่ยของครอบครัว แล้วทำการพัฒนาตัวแบบจำลองด้วยเทคนิคการจำแนกข้อมูลด้วยวิธีต้นไม้ตัดสินใจทั้งหมด 3 อัลกอริทึม ด้วยอัลกอริทึม J48, LMT, Random Forest เทคนิคการจำแนกข้อมูลด้วยการเรียนรู้แบบเบย์ และเทคนิคการจำแนกข้อมูลด้วยวิธีโครงข่ายประสาทเทียม โดยใช้ 10-Fold Cross Validation ในการแบ่งข้อมูลออกเป็นชุด ซึ่งประกอบด้วยชุดข้อมูล การสอนและชุดข้อมูลทดสอบ หลังนั้นทำการวัดค่าความถูกต้อง (Accuracy) ค่าความแม่นยำ (Precision) ค่าความระลึก (Recall) และค่าความถ่วงดุล (F-measure) เพื่อทำการวัดประสิทธิภาพในการพยากรณ์ของตัวแบจำลอง ซึ่งผลการทดลองประสิทธิภาพในการพยากรณ์ตัวแบบจำลอง พบว่า เทคนิคการจำแนกข้อมูลด้วยวิธีต้นไม้ตัดสิน ด้วยอัลกอริทึม Random Forest สามารถพยากรณ์ได้ดีกว่า อัลกอริทึม J48, LMT เทคนิคการจำแนกข้อมูลด้วยการเรียนรู้แบบเบย์ และเทคนิคการจำแนกข้อมูลด้วยวิธีโครงข่ายประสาทเทียม ซึ่งมีค่าความถูกต้องร้อยละ 91.37 ค่าความแม่นยำร้อยละ 91.30 ค่าความระลึกร้อยละ 91.40 และค่าความถ่วงดุลร้อยละ 91.30 ตามลำดับ ซึ่งผลการทดลองนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับนักศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนพัฒนาโครงสร้างหลักสูตรหรือวางแผนการศึกษาให้กับผู้เรียนในอนาคตได้ |