รูปแบบการขนส่งทางถนนที่เหมาะสมสำหรับการกระจายพัสดุสายพลาธิการของกองทัพอากาศ
รหัสดีโอไอ
Creator ณัฐพร คำพวง
Title รูปแบบการขนส่งทางถนนที่เหมาะสมสำหรับการกระจายพัสดุสายพลาธิการของกองทัพอากาศ
Contributor กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
Publisher สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Publication Year 2562
Journal Title วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Journal Vol. 18
Journal No. 2
Page no. 18-31
Keyword รูปแบบการขนส่ง, พัสดุสายพลาธิการ, ต้นทุนการขนส่ง, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)
URL Website https://www.tci-thaijo.org/index.php/rmutt-journal/index
Website title https://www.tci-thaijo.org
ISSN 2651-2289
Abstract การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการขนส่งทางถนนสำหรับการกระจายพัสดุสายพลาธิการของกองทัพอากาศ และเพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการขนส่งทางถนนระหว่าง การขนส่งแบบ Milk Run โดยผ่านทุก ๆ หน่วยในภูมิภาค, การขนส่งแบบ Milk Run โดยแบ่งเป็นหลายเส้นทางในแต่ละภูมิภาค, การขนส่งแบบ Cross Docking และการขนส่งแบบ Cross Docking ร่วมกับ Milk Run เพื่อหาแนวทางเลือกที่มีความเหมาะสมกับการกระจายพัสดุไปยังหน่วยในแต่ละภูมิภาค โดยใช้สถิติการขนส่งพัสดุปีงบประมาณ 2559-2560 นำโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาช่วยในวิเคราะห์การหาตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับใช้เป็นจุดกระจายพัสดุของแต่ละภูมิภาค รวมถึงนำการหาระยะทางขนส่งที่สั้นที่สุด (Optimal Solution) มาช่วยในการจัดเส้นทางการขนส่งพัสดุในรูปแบบ Milk Run ของแต่ละภูมิภาคอีกด้วย จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการขนส่งแบบ Cross Docking ร่วมกับ Milk Run ทำให้การขนส่งพัสดุในภาคเหนือมีต้นทุนต่ำที่สุด โดยให้กรมขนส่งทหารอากาศ (ดอนเมือง) ใช้รถยนต์บรรทุกขนาด 10 ตัน ขนพัสดุไปยังกองบิน 46 เพื่อเป็นจุดกระจายพัสดุ แล้วให้กองบิน 4 และ สร.ภูหมันขาว ใช้รถยนต์บรรทุกขนาด 3 ตัน เข้ามารับพัสดุที่กองบิน 46 เอง ส่วนหน่วยที่เหลือในภาคเหนือ กองบิน 46 จะใช้รถยนต์บรรทุกขนาด 4 ตัน จัดส่งพัสดุในรูปแบบ Milk Run โดยแบ่งเส้นทางวิ่งออกเป็น 2 เส้นทาง คือ กองบิน 46-กองบิน 41-สร.ดอยอินทนนท์-กองบิน 46 และ กองบิน 46-ฝูงบิน 416-ฝูงบิน 466-กองบิน 46 ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนการขนส่งลงได้ 18.11 %, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รูปแบบการขนส่งแบบ Milk Run โดยแบ่งเป็นหลายเส้นทางในภูมิภาค ทำให้การขนส่งพัสดุมีต้นทุนต่ำที่สุด โดยให้กรมขนส่งทหารอากาศ (ดอนเมือง) ใช้รถยนต์บรรทุกขนาด 10 ตัน ขนพัสดุไปยังกองบิน 23 เพื่อเป็นจุดกระจายพัสดุ แล้วให้กองบิน 23 ใช้รถยนต์บรรทุกขนาด 4 ตัน จัดส่งพัสดุในรูปแบบ Milk Run โดยแบ่งเส้นทางวิ่งออกเป็น 3 เส้นทาง คือ กองบิน 23-กองบิน 1-สร.เขาพนมรุ้ง-กองบิน 23, กองบิน 23-กองบิน 21-สร.ภูสิงห์-กองบิน 23 และ กองบิน 23-สร.ภูเขียว-ฝูงบิน 236-ฝูงบิน 238-ฝูงบิน 237-กองบิน 23 ซึ่งสามารถลดต้นทุนการขนส่งลงได้ 2.04 %, ภาคใต้ รูปแบบการขนส่งแบบ Cross Docking ทำให้การขนส่งพัสดุมีต้นทุนต่ำที่สุด โดยให้กรมขนส่งทหารอากาศ (ดอนเมือง) ใช้รถยนต์บรรทุกขนาด 10 ตัน ขนพัสดุไปยังกองบิน 7 เพื่อเป็นจุดกระจายพัสดุ แล้วให้หน่วยต่างๆในภาคใต้ ใช้รถยนต์บรรทุกขนาด 3 ตัน เข้ามารับพัสดุที่กองบิน 7 สามารถลดต้นทุนการขนส่งลงได้ 27.79 % และภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก การขนส่งพัสดุในรูปแบบเดิม (Direct Shipment) มีต้นทุนการขนส่งถูกที่สุด
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ