![]() |
การวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มอัตราการทำงานของเครื่องสับเหง้ามันสำปะหลัง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | เกียรติสุดา สุวรรณปา |
Title | การวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มอัตราการทำงานของเครื่องสับเหง้ามันสำปะหลัง |
Contributor | เสรี วงส์พิเชษฐ |
Publisher | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
Publication Year | 2562 |
Journal Title | วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
Journal Vol. | 18 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 42-52 |
Keyword | เครื่องสับเหง้ามันสำปะหลัง, อัตราการสับเหง้ามันสำปะหลัง, มันสำปะหลังพันธุ์ เกษตรศาสตร์ 50 |
URL Website | https://www.tci-thaijo.org/index.php/rmutt-journal/index |
Website title | https://www.tci-thaijo.org |
ISSN | 2651-2289 |
Abstract | การสับเหง้ามันมันสำปะหลังเพื่อแยกหัวมันออกจากลำต้นเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งของงานเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังซึ่งปัจจุบันยังต้องใช้วิธีการสับเหง้าด้วยแรงงานคน จากการตรวจเอกสารพบว่า มีความพยายามวิจัยและพัฒนาเครื่องสับเหง้ามันสำปะหลังขึ้นมาหลายแบบเพื่อทดแทนแรงงานคน แต่ยังมีอัตราการทำงานค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการสับเหง้าด้วยแรงงานคน ในการศึกษานี้จึงมุ่งวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มอัตราการทำงานของเครื่องสับเหง้ามันสำปะหลังโดยเลือกพัฒนาเครื่องสับเหง้ามันสำปะหลัง แบบ 2 ช่องป้อน (คนป้อน 2 คน) ซึ่ง เกียรติสุดา สุวรรณปา และเสรี วงส์พิเชษฐ (2558) ได้พัฒนาขึ้นมา และมีอัตราการทำงานโดยเฉลี่ย 68 ต้น/ชม./คน (147 กก./ชม./คน) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์แผนภูมิการไหล (Flow chart) ของกิจกรรมต่างๆ ในการทำงานของเครื่อง แล้วนำข้อค้นพบจากผลการวิเคราะห์ดังกล่าวไปออกแบบและสร้างเครื่องสับเหง้ามันสำปะหลัง ขึ้นใหม่ เป็นเครื่องสับเหง้ามันสำปะหลังแบบ 6 ช่องป้อน (ใช้ 2 คนป้อน) แล้วทดสอบการทำงานของเครื่องเปรียบเทียบกับวิธีการสับเหง้าด้วยแรงงานคนซึ่งเกษตรกรปฏิบัติโดยทั่วไป โดยใช้มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 เป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดสอบ ผลการทดสอบพบว่าเครื่องสับเหง้ามันสำปะหลังที่พัฒนาขึ้นมาใหม่มีอัตราการทำงานโดยเฉลี่ย 522 ต้น/ชม./คน (1,152 กก./ชม./คน) ซึ่งเป็นอัตราการทำงานที่สูงกว่าวิธีการสับเหง้าด้วยแรงงานคน 3 เท่า และมีการสูญเสียเนื้อมันสำปะหลังเนื่องจากสับไม่หมดโดยเฉลี่ย 0.78 % |