การศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลหนองคล้า อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร
รหัสดีโอไอ
Creator อรพิมพ์ พันธชัย
Title การศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลหนองคล้า อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร
Contributor วรรณี จิวสืบพงษ์
Publisher โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
Publication Year 2568
Journal Title วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
Journal Vol. 22
Journal No. 1
Page no. 1-8
Keyword แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, โรคหลอดเลือดสมอง, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, โรคความดันโลหิตสูง
URL Website https://thaidj.org/index.php/smj/index
Website title วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
ISSN ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print)
Abstract วัตถุประสงค์: การศึกษาโปรแกรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลหนองคล้า อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi–experimental research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่มีอายุระหว่าง 35-60 ปี และมีทะเบียนบ้านอยู่ในตำบลหนองคล้า อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง (Two-groups pretest-posttest design) โดยจัดให้เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 35 คน ได้โปรแกรมการประยุกต์ ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและ กลุ่มควบคุมจำนวน 35 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ในช่วงเดือน กรกฎาคม ถึง กันยายน 2566ผลการศึกษา: พบว่า คะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่า กลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001; 95%CI : 0.51 ถึง 1.77) การรับรู้เกี่ยวกับ โรคหลอดเลือดสมอง พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001; 95%CI : 0.51 ถึง 1.77) พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001; 95%CI : 7.54 ถึง 11.03) และระดับความดันโลหิต กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิต Systolic ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001; 95%CI : -11.62 ถึง-3.46) และค่าเฉลี่ยความดันโลหิต Diastolic ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.046 ; 95%CI : -6.85 ถึง -0.06) เนื่องจากโปรแกรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เป็นกิจกรรมที่มีการร่วมกันแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ปัญหา สร้างความเข้าใจของสาเหตุ อาการ ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง สร้างความตระหนักในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม และตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต จนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้น จึงบอกได้ว่า การจัดโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มีผลต่อการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้สรุป: การจัดโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้ จึงควรให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ระดับตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงในโรคต่างๆ ได้คำสำคัญ: แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, โรคหลอดเลือดสมอง, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, โรคความดันโลหิตสูง
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ