![]() |
รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง: การทบทวนอย่างเป็นระบบ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | รัตติยากร ถือวัน |
Title | รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง: การทบทวนอย่างเป็นระบบ |
Contributor | พรรณี บัญชรหัตถกิจ |
Publisher | โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
Journal Vol. | 21 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 127-137 |
Keyword | ผู้สูงอายุ, การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ, โรคความดันโลหิตสูง |
URL Website | https://thaidj.org/index.php/smj/index |
Website title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
ISSN | ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print) |
Abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง วิธีการศึกษา: การทบทวนอย่างเป็นระบบ โดยคัดเลือกจากการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ที่เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2561-2566 จาก Google Scholar, Thailis และ PubMed ใช้หลัก PICO ในการสืบค้นคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยภาษาไทยใช้คำหลัก คือ P: ผู้สูงอายุ, I: รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง, C: เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม, O: การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยครอบครัว และภาษาอังกฤษ ใช้คำหลัก คือ P: Elderly Hypertension I: Model of Elderly Hypertension, C: Comparison of the averaged perception between control-and intervention group., O: Health promotion program with family’s participationผลการศึกษา: การสืบค้นพบงานวิจัยจำนวน 14 เรื่องที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและการประเมินคุณภาพงานวิจัยของเฮลเลอร์ โดยเป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi Experiment Research) จำนวน 14 เรื่องศึกษาในกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (The Two Group Pretest-Posttest Design) จำนวน 13 เรื่อง และไม่ระบุ จำนวน 1 เรื่อง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็น ผู้สูงอายุ จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ 1) การค้นหาปัญหาและตั้งเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2) การส่งเสริมการรับรู้ เรื่องโรคความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อน 3) การพัฒนาทักษะการจัดการตนเอง เช่น ด้านการรับประทานอาหาร ด้านการออกกำลังกาย และ ด้านการงดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้านการจัดการความเครียด 4) การรักษาผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงด้วยการฝังเข็ม การใช้ยาขับปัสสาวะร่วมกับยารักษาความดันโลหิตสูง 5) การเสริมสร้างแรงสนับสนุนทางสังคมโดยสมาชิกในครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข ติดตามตามวัดความดันโลหิต เยี่ยมบ้าน และโทรศัพท์กระตุ้นเตือน สรุป: รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรอบรู้ เข้าใจ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่งผลให้สามารถควบคุมและลดระดับความดันโลหิต ซึ่งนำไปสู่การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ, การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ, โรคความดันโลหิตสูง |