![]() |
การประเมินการรับรู้ ความรู้ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรียของนักเรียนในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี พ.ศ. 2566 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กำจร พงศ์ศิริ |
Title | การประเมินการรับรู้ ความรู้ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรียของนักเรียนในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี พ.ศ. 2566 |
Publisher | โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
Journal Vol. | 21 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 91-100 |
Keyword | การรับรู้, ความรู้, การปฏิบัติตน, โรคไข้มาลาเรีย |
URL Website | https://thaidj.org/index.php/smj/index |
Website title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
ISSN | ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print) |
Abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการรับรู้ ความรู้ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรียของนักเรียน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ ความรู้ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรียของนักเรียนในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริฯวิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวนทั้งสิ้น 282 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามสำหรับนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์ (Chi-Square test)ผลการศึกษา: นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรีย อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 63.5 มีการรับรู้ต่อโรคไข้มาลาเรีย และสามารถปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้มาลาเรียได้ในระดับปานกลาง (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.21 และ 2.15 ตามลำดับ) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ ความรู้ และการปฏิบัติตนเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรีย พบว่าผู้ที่พักอาศัยที่เดียวกันป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรียในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้เกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรีย อย่างมีนัยสำคัญ (p-value<0.05) อายุมีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้ต่อโรคไข้มาลาเรีย อย่างมีนัยสำคัญ (p-value<0.05) เพศ การพักอาศัย การป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย และผู้ที่พักอาศัยที่เดียวกันป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรียในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีความสัมพันธ์กับระดับการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย อย่างมีนัยสำคัญ (p-value<0.05)สรุป: จากการวิจัยครั้งนี้ ควรจัดให้มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคไข้มาลาเรียในเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้มีความรู้ การรับรู้ และสามารถป้องกันตนเองจากโรคไข้มาลาเรียได้อย่างถูกต้องและเกิดความยั่งยืนต่อไปคำสำคัญ: การรับรู้, ความรู้, การปฏิบัติตน, โรคไข้มาลาเรีย |