![]() |
การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ล้างไตทางช่องท้องต่อเนื่องระหว่างกลุ่มที่เคยและไม่เคยได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมฉุกเฉินมาก่อน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พิมพ์อนงค์ ภู่เหลือ |
Title | การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ล้างไตทางช่องท้องต่อเนื่องระหว่างกลุ่มที่เคยและไม่เคยได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมฉุกเฉินมาก่อน |
Publisher | โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
Journal Vol. | 21 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 75-85 |
Keyword | ล้างไตทางช่องท้อง, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมฉุกเฉิน, อัตราการรอดชีวิต, การคงอยู่ของอุปกรณ์, การติดเชื้อเยื้อบุช่องท้องอักเสบ |
URL Website | https://thaidj.org/index.php/smj/index |
Website title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
ISSN | ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print) |
Abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิต สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิต ระหว่างผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้ทำการล้างไตทางช่องท้องต่อเนื่องที่เคย และไม่เคยได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมฉุกเฉินมาก่อน รวมทั้งเปรียบเทียบ อัตราการคงอยู่ของอุปกรณ์ล้างไตทางช่องท้อง (Tenckhoff catheter) และอุบัติการณ์การติดเชื้อเยื้อบุช่องท้องอักเสบ (CAPD Related peritonitis) ที่ต้องเปลี่ยนสายล้างไตทางช่องท้อง เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการรักษา และการให้บริการ Peritoneal Dialysis ในอนาคต และเฝ้าติดตามผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้ได้เริ่มล้างไตทางช่องท้องอย่างรวดเร็ว ก่อนต้องทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมฉุกเฉินสถานที่ศึกษา: หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์รูปแบบการวิจัย: การศึกษาย้อนหลัง (Retrospective cohort study)กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการลงทะเบียนไว้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 จนถึง 31 ธันวาคม 2564 ของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 295 คนวิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย ได้แก่ อายุ เพศ โรคร่วม โรคที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย และสาเหตุการการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมฉุกเฉิน ข้อมูลผลการรักษา ได้แก่ วันเริ่มใส่อุปกรณ์ล้างไตทางช่องท้อง วันเริ่มใส่น้ำยาล้างไตทางช่องท้อง วันที่ยุติการล้างไตทางช่องท้อง วันที่เสียชีวิต ระยะเวลาการพักท้องหลังใส่อุปกรณ์ล้างไตทางช่องท้อง (Break-in period) วันที่เกิดการติดเชื้อเยื้อบุช่องท้องอักเสบ สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิต และสาเหตุการถอดอุปกรณ์ล้างไตทางช่องท้อง แบ่ง 2 กลุ่ม คือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ทำการล้างไตทางช่องท้องต่อเนื่องเป็นครั้งแรกในช่วงที่ศึกษา (CAPD group) และผู้ป่วยที่ทำการล้างไตทางช่องท้องต่อเนื่องหลังจากทำการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไตเทียมฉุกเฉินมาก่อน (CAPD-following HD group) เปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลการรักษาทั้ง 2 กลุ่ม ได้แก่ ระยะเวลาตั้งแต่ล้างไตจนกระทั่งจบการศึกษาหรือผู้ป่วยเสียชีวิต ระยะเวลาตั้งแต่วันแรกที่ล้างไตจนยุติการล้างไตทางช่องท้อง สาเหตุ และปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิต และ การติดเชื้อเยื้อบุช่องท้องอักเสบ ด้วยสถิติ Cox Proportional Hazard Regression, Fine & Gray’s proportional sub distribution hazard model, Kaplan-Meier plot, Fisher’s Exact test และ Risk regression นำเสนอขนาดของอิทธิพลของปัจจัยเสี่ยงด้วยค่า Hazard Ratio (HR) และค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% Confidence Interval: CI)ผลการศึกษา: ค่ามัธยฐานของระยะเวลาการติดตามการรักษาอยู่ที่ 12 เดือน ผู้ป่วย CAPD group จำนวน 156 คน และผู้ป่วย CAPD-following HD group จำนวน 139 คน พบว่าภาพรวมข้อมูลพื้นฐานของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ยกเว้นในผู้ป่วย CAPD group มีโรคร่วมเป็น Cerebrovascular Accident น้อยกว่า (ร้อยละ 5.1 และร้อยละ 13.7, P=0.01) และอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย CAPD group และผู้ป่วยกลุ่ม CAPD-following HD group ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HR=1.08, 95%CI=0.64-1.83, P=0.76) และจากการที่วิเคราะห์ด้วยวิธี Competing Risk Regression อัตราการเสียชีวิตสะสมของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HR=1.09, 95%CI=0.66-1.83, P=0.73) Technique Survival ของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HR=0.97, 95%CI= 0.54-1.75, P=0.92) ส่วนปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิตพบว่า ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1.84 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HR=1.84, 95% CI=1.06-3.18, p=0.03) และผู้ป่วยที่มีโรคร่วมเป็นโรคเบาหวาน มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 2.05 เท่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HR=2.05, 95%CI=1.05-3.98, P=0.04) สุดท้ายอุบัติการณ์การติดเชื้อเยื้อบุช่องท้องอักเสบ ที่ต้องเปลี่ยนสายล้างไตทางช่องท้องของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR=0.90, 95%CI = 0.68-1.19, P = 0.47)วิจารณ์และสรุป: อัตราการรอดชีวิต อัตราการคงอยู่ของอุปกรณ์ และอุบัติการณ์การติดเชื้อเยื้อบุช่องท้องอักเสบที่ต้องเปลี่ยนสายล้างไตทางช่องท้อง ของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่า ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และ ผู้ป่วยที่มีโรคร่วมเป็นโรคเบาหวาน มีความเสี่ยงเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คำสำคัญ: ล้างไตทางช่องท้อง, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมฉุกเฉิน, อัตราการรอดชีวิต, การคงอยู่ของอุปกรณ์, การติดเชื้อเยื้อบุช่องท้องอักเสบ |