![]() |
ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยเสี่ยงฆ่าตัวตายที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าช่วงหลังการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ป่วยนอก คลินิกจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ชานนท์ ศิริกุล |
Title | ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยเสี่ยงฆ่าตัวตายที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าช่วงหลังการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ป่วยนอก คลินิกจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี |
Publisher | โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
Journal Vol. | 21 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 67-74 |
Keyword | ซึมเศร้า, ฆ่าตัวตาย, ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19), ความชุก, ปัจจัยเสี่ยง |
URL Website | https://thaidj.org/index.php/smj/index |
Website title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
ISSN | ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print) |
Abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าช่วงหลังการระบาดการของไวรัสโคโรนา 2019 และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านอาการจากการประเมินภาวะซึมเศร้าช่วงหลังการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 กับปัจจัยเสี่ยงฆ่าตัวตายความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยนอก คลินิกจิตเวชและ ยาเสพติด โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบพรรณนาภาคตัดขวาง สัมภาษณ์และประเมินกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบประเมิน Hamilton Rating Scale for Depression (HAM-D-7) ระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 141 คน มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 85.1 ส่วนใหญ่เป็นระดับเล็กน้อย-ปานกลาง (ร้อยละ 82.3) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 84.4) อายุ 25-60 ปี (ร้อยละ 62.4) ระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 (ร้อยละ 42.4) สถานภาพโสด (ร้อยละ 41.1) รายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท (ร้อยละ 55.3) ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 51.2) เคยมีประวัติการรักษาทางจิตเวช (ร้อยละ 59.6) เคยกักตัวเนื่องจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ร้อยละ 72.3) และได้รับผลกระทบจากการจ้างงานช่วงโรคระบาด (ร้อยละ 48.3) ปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการฆ่าตัวตายอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านความรู้สึกผิด อาการทางกาย อารมณ์ซึมเศร้า อาการวิตกกังวล อาการหมดเรี่ยวแรงในการใช้ชีวิต อาการหมดความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันและการทำงาน สรุป: ภาวะหลังโรคระบาดจะพบผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตเวช ซึมเศร้า เครียด วิตกกังวลได้เป็นจำนวนมาก และเป็นปัจจัยเสี่ยงฆ่าตัวตายความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายได้ คำสำคัญ: ซึมเศร้า, ฆ่าตัวตาย, ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19), ความชุก, ปัจจัยเสี่ยง |