ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดพังผืดในตับระยะรุนแรง ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ได้รับ การรักษาด้วยยาเมโธเทรกเซทระยะยาว ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
รหัสดีโอไอ
Creator รัตติกร ถึงสุข
Title ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดพังผืดในตับระยะรุนแรง ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ได้รับ การรักษาด้วยยาเมโธเทรกเซทระยะยาว ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
Publisher โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
Publication Year 2567
Journal Title วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
Journal Vol. 21
Journal No. 1
Page no. 48-54
Keyword พังผืดในตับ, ยาเมโธเทรกเซท, โรคสะเก็ดเงิน, วัดความยืดหยุ่นของตับ
URL Website https://thaidj.org/index.php/smj/index
Website title วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
ISSN ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print)
Abstract ความเป็นมา: เป็นที่ทราบกันดีว่ายาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) มีความสัมพันธ์กับการเกิดพังผืดในตับ อย่างไรก็ตามบางการศึกษาพบว่ายาเมโธเทรกเซท อาจไม่ใช่ปัจจัยหลักของการเกิดพังผืดตับในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ โดยเฉพาะโรคประจำตัวของผู้ป่วย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ที่ส่งผลให้เกิดภาวะพังผืดในตับ ในปัจจุบันเราสามารถตรวจพังผืดตับ ด้วยวิธี Transient Elastography (TE) ซึ่งเป็นการตรวจแบบใหม่ สะดวกปลอดภัย ทำซ้ำได้ ในราคาที่เหมาะสม และมีความแม่นยำสูง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของพังผืดในตับระยะรุนแรงที่ประเมินด้วยวิธี TE และปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ได้รับการรักษาด้วยยาเมโธเทรกเซทเป็นระยะเวลายาว มากกว่า 6 เดือน วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบตัดขวางดำเนินการ ระหว่างเดือนมกราคม 2563 ถึงเดือนธันวาคม 2565 ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ขณะทำการศึกษามีผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ได้รับการรักษาด้วยยาเมโธเทรกเซทระยะยาวมากกว่า 6 เดือน ทั้งสิ้น 272 ราย โดยวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะผู้ป่วยและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดพังผืดในตับระยะรุนแรง และกำหนดค่า TE ≥7.9 kPa. เป็นภาวะพังผืดในตับระยะรุนแรง ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยที่ศึกษาทั้งหมด 272 ราย โดยผู้ป่วย 59 ราย มีภาวะพังผืดในตับระยะรุนแรง พบว่าปัจจัยดังต่อไปนี้ ได้แก่ ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไป (ร้อยละ 44.1 เทียบกับ ร้อยละ 14.6, p-value< 0.01) ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 59.3 เทียบกับ ร้อยละ 23.9, p-value<0.01) ไขมันในเลือดสูง (ร้อยละ 40.7 เทียบกับ ร้อยละ 23.5, p-value<0.01) และโรคเบาหวาน (ร้อยละ 32.2 เทียบกับ ร้อยละ 9.4, p-value<0.01) สัมพันธ์กับกลุ่มที่มีพังผืดในตับระยะรุนแรง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีพังผืดในตับระยะรุนแรง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ ขนาดยาสะสม และระยะเวลาของการใช้ยาเมโธเทรกเซท เพศ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง รวมถึงการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลับไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเกิดพังผืดในตับระยะรุนแรง และจากการวิเคราะห์แบบพหุตัวแปร พบว่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไป ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ (Adjusted OR = 5.51, 3.32 และ 3.02 ตามลำดับ, p-value<0.01) สรุป: ในการศึกษานี้ ขนาดยาสะสม และระยะเวลาของการใช้ยาเมโธเทรกเซท ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดพังผืดในตับระยะรุนแรงในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคอ้วน มีบทบาทสำคัญในการเกิดพังผืดในตับระยะรุนแรงในผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยแนะนำให้ตรวจพังผืดในตับด้วยวิธี Transient Elastography ก่อนการรักษาด้วยยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วนที่มีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไป อย่างไรก็ตามอาจต้องการศึกษาที่มีประชากรมากกว่าเพื่อยืนยันผลการศึกษา คำสำคัญ: พังผืดในตับ, ยาเมโธเทรกเซท, โรคสะเก็ดเงิน, วัดความยืดหยุ่นของตับ
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ