การศึกษาเปรียบเทียบ Nefopam และ Tramadol ต่อการระงับปวดหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดถุงน้ำดีโดยใช้กล้อง: การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
รหัสดีโอไอ
Creator ชมพูณิก เจียมจิตพลชัย
Title การศึกษาเปรียบเทียบ Nefopam และ Tramadol ต่อการระงับปวดหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดถุงน้ำดีโดยใช้กล้อง: การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
Contributor จุฬาลักษณ์ ปิ่นวัฒนะ
Publisher โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
Publication Year 2567
Journal Title วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
Journal Vol. 21
Journal No. 1
Page no. 40-47
Keyword ผ่าตัดถุงน้ำดีโดยใช้กล้อง, ความปวดหลังผ่าตัด, Nefopam, Tramadol
URL Website https://thaidj.org/index.php/smj/index
Website title วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3
ISSN ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print)
Abstract วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการระงับปวดหลังผ่าตัดถุงน้ำดีโดยใช้กล้องของยา Nefopam และ Tramadol และอุบัติการณ์ของผลข้างเคียงที่อาจเกี่ยวข้องกับการใช้ยาดังกล่าว ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมโดยมีการปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง (Double-blind randomized controlled trial) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยไทยอายุ 18-65 ปี ที่เข้ารับการผ่าตัดถุงน้ำดีโดยใช้กล้องใน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ทั้งหมด 70 คน โดยแบ่งเป็น กลุ่ม Tramadol จะได้รับยา Tramadol เพื่อควบคุมความปวดหลังผ่าตัด 35 คน และกลุ่ม Nefopam จะได้รับยา Nefopam หลังผ่าตัด 35 คน และเปรียบเทียบประสิทธิผลจากยา 2 กลุ่มโดยประเมินจากผู้ป่วยบอกคะแนนความปวดด้วยตัวเองโดยใช้ Numeric Rating Scales (NRS) ผลการศึกษา: จากการประเมินความปวดหลังการผ่าตัดถุงน้ำดีโดยใช้กล้อง พบว่าคะแนนความปวดขณะพักของกลุ่ม Nefopam ที่เวลา 30 นาที 3 ชั่วโมง 6 ชั่วโมง 12 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าคะแนนความปวดของกลุ่ม Tramadol อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และพบว่าอาการข้างเคียงที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกในทั้งสองกลุ่ม ได้แก่อาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ และปากแห้ง โดยพบว่ากลุ่ม Nefopam มีอุบัติการณ์คลื่นไส้อาเจียน ร้อยละ 25.7 ซึ่งต่ำกว่ากลุ่ม Tramadol ซึ่งมีอุบัติการณ์คลื่นไส้อาเจียน ร้อยละ 51.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.03) ส่วนผล ข้างเคียงอื่น ๆ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างทั้งสองกลุ่ม สรุป: การให้ Nefopam 20 มิลลิกรัม มีประสิทธิผลสามารถลดระดับความปวด 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดถุงน้ำดีโดยใช้กล้อง และอุบัติการณ์เกิดคลื่นไส้อาเจียนน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ Tramadol 50 มิลลิกรัม คำสำคัญ: ผ่าตัดถุงน้ำดีโดยใช้กล้อง, ความปวดหลังผ่าตัด, Nefopam, Tramadol
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ