![]() |
ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพังผืดของตับจากการใช้ยา Methotrexate ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จากค่า Fibrosis-4 index |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สุทัศน์ เรืองจุติโพธิ์พาน |
Title | ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพังผืดของตับจากการใช้ยา Methotrexate ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จากค่า Fibrosis-4 index |
Publisher | โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
Journal Vol. | 21 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 31-39 |
Keyword | โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, Methotrexate, Liver fibrosis, The Fibrosis-4 index |
URL Website | https://thaidj.org/index.php/smj/index |
Website title | วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 |
ISSN | ISSN 2774-0579 (Online), ISSN 2821-9201 (Print) |
Abstract | บทนำ: Methotrexate เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงและถูกนำมาใช้เป็นยาหลักในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ทำให้ผู้ป่วยอาการสงบอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยา Methotrexate เป็นระยะเวลานานอาจจะมีผลข้างเคียงต่อการทำงานของตับและทำให้เกิดพังผืดที่ตับ (Liver fibrosis) วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะพังผืดตับจากการใช้ยา Methotrexate ในผู้ป่วย โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยเปรียบเทียบในกลุ่มที่ใช้ปริมาณสะสมมากกว่า 4 กรัม กับกลุ่มที่ใช้ปริมาณสะสมน้อยกว่า 4 กรัมในระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป โดยคำนวณปริมาณพังผืดที่ตับโดยใช้ค่า The Fibrosis-4 เป็นตัวชี้วัดหลักในการศึกษา วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Prognostic factor research-Observational retrospective cohort design ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ระหว่างปี พ.ศ.2555-2565 โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน อาการทางคลินิก โรคร่วม ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยเฉพาะการทำงานของตับ และความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ข้อมูลด้านการรักษาด้วยยาที่ใช้ร่วมกัน โดยใช้สถิติเชิงอนุมานได้แก่ Chi-square test หรือ Fisher’s exact test, t-test และ Multivariable Logistic Regression ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% Confidence interval) ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่เข้าตามหลักเกณฑ์การทำวิจัยจำนวน 335 คน เป็นเพศหญิง 282 (84 %) เพศชาย 53 คน (16 %) จากผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่รับการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งหมด 1329 คน มีผู้ป่วยที่ได้รับยา Methotrexate น้อยกว่า 4 กรัม จำนวน 115 คน อายุเฉลี่ย 61.3 ปี ปริมาณการใช้ยา Methotrexate สะสมสำหรับกลุ่มที่ใช้ยาน้อยกว่า 4 กรัม มีค่าเฉลี่ยการใช้ยา Methotrexate อยู่ที่ 2.7 กรัม และผู้ป่วยที่ได้รับยา Methotrexate มากกว่าหรือเท่ากับ 4 กรัม จำนวน 220 คนอายุเฉลี่ย 60 ปี สำหรับกลุ่มที่ใช้ยามากกว่าหรือเท่ากับ 4 กรัม มีค่าเฉลี่ยการใช้ยา Methotrexate เท่ากับ 5.3 กรัม ระยะเวลาการใช้ยาเท่ากับ 5.3 และ 7 ปี ตามลำดับความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดภาวะพังผืดของตับกับการรักษาด้วยยา Methotrexate ขนาดรวมมากกว่าหรือเท่ากับ 4 กรัม และขนาดรวมน้อยกว่า 4 กรัม โดยใช้ค่า Fibrosis-4 index ในการทำนายโอกาสเกิดพังผืดของตับ พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้ Methotrexate มากกว่าหรือเท่ากับ 4 กรัมเพิ่มโอกาสการเกิดพังผืดของตับเป็น 1.14 เท่า (95% Confidence interval: 0.8 - 1.5) ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.490) จากการทำ Multivariable Logistic Regression Analyses กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ร่วมกับยา Leflunomide จะเพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะพังผืดของตับเป็น 1.46 เท่า (95% Confidence interval: 1.1 - 1.9) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.006) โดยไม่ขึ้นกับอายุ เพศ ดัชนีมวลกาย โรคร่วมอื่นๆ และการใช้ยาปรับการดำเนินโรครูมาติกตัวอื่นนอกเหนือจาก Leflunomine สรุป: ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่รักษาด้วยการใช้ยา Methotrexate ในระยะเวลานานกว่า 3 ปี และปริมาณรวมมากกว่า 4 กรัม มีค่า Fibrosis-4 index ที่ไม่ต่างกับผู้ที่ใช้ในปริมาณที่น้อยกว่า 4 กรัม ดังนั้นการใช้ยา Methotrexate ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะ Liver fibrosis แต่พบว่าในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ใช้ Methotrexate ร่วมกับยา Leflunomine มีการเพิ่มขึ้นของค่า Fibrosis-4 index อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คำสำคัญ: โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, Methotrexate, Liver fibrosis, The Fibrosis-4 index |