![]() |
การเสริมสร้างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพ่อแม่ที่ลูกเป็นบุคคลพิการโดยการให้การปรึกษาตามแนวการบําบัดแบบการยอมรับและพันธะสัญญาแบบกลุ่ม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ธิณัฐสิริน ศรีชุมพล |
Title | การเสริมสร้างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพ่อแม่ที่ลูกเป็นบุคคลพิการโดยการให้การปรึกษาตามแนวการบําบัดแบบการยอมรับและพันธะสัญญาแบบกลุ่ม |
Contributor | พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์, ครรชิต แสนอุบล |
Publisher | สมาคมปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ |
Journal Vol. | 15 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 85-99 |
Keyword | การให้การปรึกษาตามแนวการบําบัดแบบการยอมรับและพันธะสัญญาแบบกลุ่ม, ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก, พ่อแม่ที่มีลูกเป็นบุคคลพิการ |
URL Website | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj |
ISSN | 2985-0037 |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการให้การปรึกษาตามแนวการบําบัดแบบการยอมรับและพันธะสัญญาแบบกลุ่มเพื่อเสริมสร้างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพ่อแม่ที่มีลูกเป็นบุคคลพิการ (2) เปรียบเทียบทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพ่อแม่กลุ่มทดลอง ระยะก่อนและหลังการทดลองและระยะติดตามผล และ (3) เปรียบเทียบทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพ่อแม่ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ประชากรที่ใช้คือ พ่อหรือแม่ที่ลูกเป็นนักเรียนของศูนย์การศึกษาพิเศษ ตัวอย่างเป็นพ่อหรือแม่ที่มีค่าเฉลี่ยทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกตํ่ากว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 จํานวน 16 คน ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจํานวนกลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการให้การปรึกษาตามแนวการบําบัดแบบการยอมรับและพันธะสัญญาแบบกลุ่มและแบบวัดทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .919 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้า การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ผลการวิจัย พบว่า (1) รูปแบบการให้การปรึกษาตามแนวการบําบัดแบบการยอมรับและพันธะสัญญาแบบกลุ่มใช้การบําบัดแบบการยอมรับและพันธะสัญญาเป็นฐานประกอบไปด้วย 8 กระบวนการที่สอดคล้องไปกับ 6 เทคนิคตาม Hexaflex Model (2) การเปรียบเทียบทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพ่อแม่กลุ่มทดลองในระยะหลังและติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) การเปรียบเทียบทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของพ่อแม่กลุุมทดลองในระยะหลังและติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |