การเมืองในกระบวนการกําหนดนโยบายประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางพ.ศ. 2562-2566
รหัสดีโอไอ
Creator จิณอนันชญา สายอรุณธวัฒน์
Title การเมืองในกระบวนการกําหนดนโยบายประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางพ.ศ. 2562-2566
Contributor พัด ลวางกูร, นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ, กฤติธี ศรีเกตุ
Publisher สมาคมปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์
Publication Year 2568
Journal Title วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์
Journal Vol. 15
Journal No. 1
Page no. 58-69
Keyword กระบวนการกําหนดนโยบาย, ประกันรายได้, เกษตรกรชาวสวนยาง
URL Website https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj
ISSN 2985-0037
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการกําหนดนโยบายประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง พ.ศ. 2562-2566 โดยการศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางผลการวิจัย พบว่า กระบวนการกําหนดนโยบายประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง พ.ศ. 2562-2566 ได้แก่ (1) การระบุปัญหา เกิดจากความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางจากราคายางที่ตกตํ่ามาเป็นเวลาที่ยาวนานและต่อเนื่อง ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองผ่านการหาเสียงเลือกตั้งและการลงคะแนนเสียงให้กับพรรคที่จะสามารถผลักดันการแก้ไขป้ญหาได้ (2) การเข้าสู่วาระภายหลังการเลือกตั้งจึงนําไปสู่การเจรจาต่อรองเข้าร่วมรัฐบาลโดยนํานโยบายของแต่ละพรรคที่ใช้เสียงมาเป็นเงื่อนไขในการเข้าร่วม โดยชี้ให้เห็นถึงปัญหาดังกล่าวต้องจัดทําเป็นนโยบายหลักและนโยบายเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรโดยเร็วให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น (3) การก่อตัวของนโยบาย มีความชัดเจนมากขึ้นผ่านการประชุมระหว่างคณะกรรมการยางนโยบายธรรมชาติที่มีข้าราชการฝ่ายประจําและฝ่ายการเมืองร่วมกันหาข้อสรุปโครงการ (4) การอนุมัตินโยบาย โดยคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาอนุมัติเป็นนโยบายออกมาตลอดอายุของรัฐบาล รวม 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2563) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2563-2564) ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2564-2565) และระยะที่ 4 (พ.ศ. 2566) และ (5) การนํานโยบายไปปฏิบัติ โดยการยางแหงประเทศไทยได้นําโครงการดังกล่าวไปปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างราบรื่นครบถ้วนทั้ง 4 ระยะ
วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ