ปัญหาการนําหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาปรับใช้กับกรณีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
รหัสดีโอไอ
Creator ชัดชัย กลั่นความดี
Title ปัญหาการนําหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาปรับใช้กับกรณีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
Contributor นพพรศิริ กฤษพชร
Publisher สมาคมปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์
Publication Year 2568
Journal Title วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์
Journal Vol. 15
Journal No. 1
Page no. 206-220
Keyword สิทธิส่วนบุคคล, ความรับผิดทางละเมิด, ค่าเสียหายเชิงลงโทษ
URL Website https://so05.tci-thaijo.org/index.php/phdssj
ISSN 2985-0037
Abstract บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยเทคโนโลยีและการกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษ ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีความรับผิดเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและการเยียวยาความเสียหายโดยนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาปรับใช้ ศึกษาหลักกฎหมายและวิเคราะห์ปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและการเยียวยาความเสียหายโดยนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาปรับใช้ตามหลักกฎหมายของสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องความรับผิดกรณีละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาโดยค่าเสียหายเชิงลงโทษ อันจะเป็นการป้องปรามและคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและเปรียบเทียบผลการวิจัย พบว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ได้บัญญัติคุ้มครองการกระทำละเมิดต่อสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด สิทธิดังกล่าวจะรวมถึงสิทธิส่วนบุคคลด้วยหรือไม่ ยังไม่มีความชัดเจน แต่ได้มีการบัญญัติรับรองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 32 ส่วนการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐหรือเอกชนที่ทำการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามตัว GPS Tracker หรือแอปพลิเคชันติดตามตัวโดยไม่รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการ ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและต้องได้รับหมายศาล สำหรับกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าถึงข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ของผู้ที่ถูกหมายจับ โดยไม่ได้มีการขอหมายศาลเพื่อเข้าตรวจสอบข้อมูลจากบริการที่เก็บข้อมูลดังกล่าวไว้ ถือว่าเป็นการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนแม้จะเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยก็ต้องรับหมายศาล เมื่อไม่ได้รับหมายศาลจึงเป็นละเมิด นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ไม่ได้กำหนดบทบัญญัติให้ศาลสามารถนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาปรับใช้ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนได้กรณีละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ ดังนั้น จึงควรแก้ไขบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โดยกำหนดให้สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดรวมถึงสิทธิส่วนบุคคลด้วย บัญญัติการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่จะทำการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามตัว GPS Tracker หรือแอปพลิเคชันติดตามตัวเพื่อสืบสวนสอบหาพยานหลักฐานจะต้องได้รับอนุญาตจากศาล บัญญัติให้การเข้าถึงข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ของผู้ที่ถูกหมายจับที่เก็บไว้โดยผู้ให้บริการออนไลน์จะต้องได้รับหมายศาลก่อน และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 โดยกำหนดให้ศาลสามารถกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษในกรณีละเมิดสิทธิสิทธิส่วนบุคคลได้ไม่เกินสองเท่า
วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ