![]() |
ประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนในการปรับปรุงดินเสื่อมสภาพต่อการเจริญเติบโตของต้นผักบุ้ง (Ipomoea aquatica Forsk.) |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ฐิติพันธ์ สืบประสิทธิ์ |
Title | ประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนในการปรับปรุงดินเสื่อมสภาพต่อการเจริญเติบโตของต้นผักบุ้ง (Ipomoea aquatica Forsk.) |
Contributor | อุดมศักดิ์ ผ่องศรี, จุฬาลักษณ์ ตลับนาค |
Publisher | คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารเกษตรพระวรุณ |
Journal Vol. | 22 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 156-162 |
Keyword | ผักบุ้ง, ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน, การเจริญเติบโตของพืช, ดินเสื่อมโทรม |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu |
Website title | วารสารเกษตรพระวรุณ |
ISSN | 2773-9627 |
Abstract | ดินเสื่อมสภาพคือดินที่เสื่อมโทรมหรือไม่มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินและความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนเป็นที่รู้จักในการปรับปรุงคุณภาพดิน ความอุดมสมบูรณ์ การระบายอากาศ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือการศึกษาผลของสัดส่วนปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนต่อการเจริญเติบโตของผักบุ้ง (Ipomoea aquatica) โดยการศึกษาใช้สัดส่วนของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนและดิน 4 อัตรา ได้แก่ 0:10 (ไม่มีปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน) 1:9, 3:7 และ 5:5 ทำการวัดความยาวลำต้น จำนวนใบ จำนวนกิ่ง น้ำหนักราก และน้ำหนักสด ผลการทดลองพบว่าสัดส่วนปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนต่อดินที่อัตรา 5:5 ให้ความยาวลำต้นสูงสุดที่ 19.72 ซม. รองลงมาคืออัตรา 3:7, 1:9, และ 0:10 ซึ่งให้ค่าเฉลี่ย 17.42, 12.94 และ 10.47 ซม. ตามลำดับ ในส่วนของจำนวนใบและจำนวนกิ่ง พบว่าอัตราส่วน 5:5 ให้ค่าจำนวนใบและจำนวนกิ่งสูงสุดที่ 32.92 และ 1.92 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองอื่นๆ สำหรับน้ำหนักสดและน้ำหนักราก พบว่าน้ำหนักสูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 21.29 และ 7.28 กรัม ตามลำดับ ซึ่งแสดงผลในอัตราส่วน 5:5 และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองอื่นๆ ดังนั้นการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนสามารถใช้เป็นทางเลือกสำหรับการเลือกใช้ปุ๋ยในการบำรุงดินและพืช และยังส่งเสริมการเจริญเติบโตของผักบุ้งได้อีกด้วย |