![]() |
การเสริมเยื่อหุ้มเปลือกเมล็ดมะขามในอาหารไก่พ่อพันธุ์ต่อประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์และการเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่เย็น |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พัชรา ธนานุรักษ์ |
Title | การเสริมเยื่อหุ้มเปลือกเมล็ดมะขามในอาหารไก่พ่อพันธุ์ต่อประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์และการเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่เย็น |
Contributor | ศศินิษฐา ถนอมวงศ์วัฒนะ, ปาจรีย์ โทตะกูล, พิริยาภรณ์ สังขปรีชา, เธียรอุทัย ศิริประเสริฐ, สุจีรา พึ่งเจริญ, ธีรภัทร แก้วกัณหา, ณปภัช ช่วยชูหนู |
Publisher | คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารเกษตรพระวรุณ |
Journal Vol. | 22 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 149-155 |
Keyword | เยื่อหุ้มเปลือกเมล็ดมะขาม, คุณภาพน้ำเชื้อ, การเก็บรักษา, ไก่ |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu |
Website title | วารสารเกษตรพระวรุณ |
ISSN | 2773-9627 |
Abstract | การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมเยื่อหุ้มเปลือกเมล็ดมะขามในอาหารต่อคุณภาพน้ำเชื้อไก่พ่อพันธุ์ โดยนำเยื่อหุ้มเปลือกเมล็ดมะขามมาทำการสกัดด้วยวิธีสเปรย์ดราย จากนั้นนำไปศึกษาปริมาณฟีนอลและปริมาณฟีนอลิคทั้งหมดที่ 7435.08 mg/g DM และ 503.95 mg/g DM และศึกษาการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ด้วยวิธี radical scavenging capacity assay, ferric reducing (FRAP) assay (3538.56 μM FeSO4/ml), 2,2-di-phenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) (85.70 เปอร์เซ็นต์) และ Trolox equivalent antioxidant capacity (TEAC) (69.81 เปอร์เซ็นต์) พบว่าเยื่อหุ้มเปลือกเมล็ดมะขามมีการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่สูง และนำไปเป็นส่วนผสมในอาหารไก่ วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ Randomize Complete Block Design (RCBD) ทำการศึกษาโดยใช้พ่อพันธุ์ไก่พื้นเมืองไทย จำนวน 24 ตัว อายุเฉลี่ย 1-1.5 ปี โดยแบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม ที่มีการเสริมเยื่อหุ้มเปลือกเมล็ดมะขามในอาหาร ที่ระดับ 0 0.3 0.6 และ 0.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร ทำการรีดเก็บน้ำเชื้อสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และทำการเก็บรักษาน้ำเชื้อไก่พ่อพันธุ์ที่อุณหภูมิ 5 และ 25 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 0 12 และ 24 ชั่วโมง และประเมินคุณภาพน้ำเชื้อ อัตราการเคลื่อนที่ทั้งหมด อัตราการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า และอัตราการรอดชีวิต ผลการศึกษาพบว่า การเสริมเยื่อหุ้มเปลือกเมล็ดมะขามที่ 0.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร มีอัตราการเคลื่อนที่ทั้งหมด อัตราการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า และอัตราการรอดชีวิตของน้ำเชื้อไก่พ่อพันธุ์ที่ทำการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 และ 25 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 0 12 และ 24 ชั่วโมง สูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ (p< 0.05) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการเสริมเยื่อหุ้มเปลือกเมล็ดมะขามในอาหารระดับ 0.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร สามารถเพิ่มคุณภาพน้ำเชื้อสดทั้งด้านการเคลื่อนที่และอัตราการรอดชีวิต ให้เหมาะสมต่อการนำไปเก็บรักษาหรือการผสมเทียมได้ |