![]() |
การเพิ่มประสิทธิภาพการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากใบกัญชาด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิค ร่วมกับตัวทำละลายขั้นสูง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พนิดา วงศ์ปรีดี |
Title | การเพิ่มประสิทธิภาพการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากใบกัญชาด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิค ร่วมกับตัวทำละลายขั้นสูง |
Contributor | อภิญญา ภูมิสายดอน, คคนางค์ รัตนานิคม, พนอจิต นิติสุข |
Publisher | คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารเกษตรพระวรุณ |
Journal Vol. | 22 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 128-139 |
Keyword | ใบกัญชา, อัลตร้าโซนิค, สารฟีนอลิก, สารต้านอนุมูลอิสระ |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu |
Website title | วารสารเกษตรพระวรุณ |
ISSN | 2773-9627 |
Abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพการสกัดสารสกัดหยาบต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระจากใบกัญชา (Cannabis sativa) โดยใช้วิธีการสกัดด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิค (Ultrasound-Assisted Extraction, UAE) ร่วมกับตัวทำละลายที่เป็นน้ำและแอลกอฮอล์ 95% ผลการทดลองพบว่า การสกัดด้วยแอลกอฮอล์ที่ผ่านเครื่องอัลตร้าโซนิคสามารถเพิ่มปริมาณสารฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ได้มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการสกัดด้วยน้ำ การสกัดด้วยแอลกอฮอล์มีปริมาณฟีนอลิกสูงถึง 73.45±2.31 mgGAE/g และฟลาโวนอยด์สูงถึง 58.12±1.84 mgQE/g ในขณะที่การสกัดด้วยน้ำมีค่าฟีนอลิกเพียง 45.32±1.94 mgGAE/g และฟลาโวนอยด์ 35.78±1.52 mgQE/g ในส่วนของการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ แสดงให้เห็นว่าสารสกัดที่ผ่านกระบวนการ UAE ด้วยแอลกอฮอล์มีค่าการต้านอนุมูลอิสระสูงสุดเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH โดยมีค่า IC50เท่ากับ 19.85±0.45 µg/mL และในการทดสอบ ABTS ค่า IC50 ของสารสกัดเท่ากับ 15.32±0.87 µg/mL ซึ่งดีกว่าการสกัดด้วยน้ำที่ให้ค่า IC50 ที่ DPPH = 30.14±1.22 µg/mL และ ABTS = 28.67±1.05 µg/mL การวิเคราะห์ปริมาณ Tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) แสดงให้เห็นว่าใบกัญชาสดมีค่า THC สูงถึง 10,327 mg/kg ในขณะที่ไม่พบ CBD การสกัดจากใบกัญชาอบแห้งพบว่า CBD มีปริมาณสูงถึง 6,842 mg/kg ซึ่งมากกว่า THC ที่มีปริมาณ 4,923 mg/kg แสดงให้เห็นว่าการสกัดสารสกัดหยาบด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิคร่วมกับแอลกอฮอล์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากใบกัญชาได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในด้านฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการดึงสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางการแพทย์ออกมาได้มากขึ้น ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตอาหารและยาได้ |