![]() |
ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชในคลองทอน ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ศรัณย์ รักษาพราหมณ์ |
Title | ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชในคลองทอน ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา |
Contributor | ณัฐพล ราชูภิมนต์, นฤมล อัศวเกศมณี, ณิศา มาชู, สบาย ตันไทย, อวิกา ศิริรัตนากร |
Publisher | คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม |
Publication Year | 2566 |
Journal Title | วารสารเกษตรพระวรุณ |
Journal Vol. | 20 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 98-105 |
Keyword | แพลงก์ตอนพืช, ความหลากหลาย, คลองหอยโข่ง, สงขลา |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu/index |
Website title | วารสารเกษตรพระวรุณ |
ISSN | 1685-8379 |
Abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในคลองทอน ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา เก็บตัวอย่างทุกเดือน ในช่วงเดือนสิงหาคม-เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 และเดือนมกราคม-เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 รวมทั้งสิ้น 3 สถานี ในการศึกษาครั้งนี้พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 6 ดิวิชัน 63 สกุล ประกอบด้วยดิวิชัน Cyanophyta, Chlorophyta, Bacillariophyta, Pyrrophyta, Chrysophyta และ Euglenophyta โดยพบดิวิชัน Chlorophyta มากที่สุด จำนวน 29 สกุล คิดเป็น 46.03 % ของจำนวนสกุลแพลงก์ตอนพืชที่พบทั้งหมด % ความถี่ของแพลงก์ตอนพืชที่พบมากที่สุด 100 % มี 25 สกุล ส่วนใหญ่อยู่ในดิวิชัน Chlorophyta และ Bacillariophyta องค์ประกอบชนิดแพลงก์ตอนทั้งหมดแบ่งตามการจัดลำดับทางอนุกรมวิธานในระดับของดิวิชันที่พบมาก คือ Bacillariophyta (43.15 %) และแบ่งตามการจัดลำดับทางอนุกรมวิธานในระดับของสกุลที่พบมาก คือ Navicula spp. (20.59 %) ดัชนีความหลากหลายของชนิดแพลงก์ตอนพืช ในสถานีที่ 2 มีค่ามากที่สุด (2.55) ดัชนีความมากชนิดพบมากที่สุดในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 5.88 โดยแพลงก์ตอนพืชที่พบได้บ่อยในทุกสถานี และมีความหนาแน่นมาก ซึ่งเป็นแพลงก์ตอนพืชสกุลเด่น ได้แก่ Fragilaria spp. (กลุ่มไดอะตอม) Oscillatoria spp. (กลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) และ Trachelomonas spp. (กลุ่มยูกลีน่า) คุณภาพน้ำที่ส่งผลต่อความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืช คือ ความเป็นกรด-ด่าง ซึ่งมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.361 ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งน้ำและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ ส่งผลให้มีการร่วมมือกันในการจัดทำแผนการเลี้ยงสัตว์น้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |