![]() |
ประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์ของไก่ดำเขาหลักจังหวัดตรัง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ณปภัช ช่วยชูหนู |
Title | ประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์ของไก่ดำเขาหลักจังหวัดตรัง |
Contributor | พัชรา ธนานุรักษ์, ประพจน์ มลิวัลย์, สมคิด ชัยเพชร |
Publisher | คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารเกษตรพระวรุณ |
Journal Vol. | 19 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 59-65 |
Keyword | ไก่ดำเขาหลัก, น้ำเชื้อ, อัตราการผสมติด, ผลผลิตไข่, อัตราการฟักออก |
URL Website | https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pajrmu |
Website title | วารสารเกษตรพระวรุณ |
ISSN | 1685-8379 |
Abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์ของไก่ดำเขาหลัก จังหวัดตรัง ทำการศึกษาปริมาณและคุณภาพน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ไก่ดำเขาหลัก จำนวน 10 ตัว (อายุ 8 เดือน) ทำการรีดเก็บน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ศึกษาปริมาณการวางไข่และน้ำหนักฟองไข่ในรอบ 1 ปี ใช้แม่พันธุ์ไก่ดำเขาหลัก จำนวน 45 ตัว (อายุ 5 เดือน) ทำการทดสอบอัตราการผสมติดด้วยการผสมเทียม และศึกษาน้ำหนักของฟองไข่ต่อการสูญเสียน้ำระหว่างการฟัก โดยแบ่งช่วงน้ำหนักฟองไข่ ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 น้ำหนัก 46-50 กรัม กลุ่มที่ 2 น้ำหนัก 51-55 กรัมและกลุ่มที่ 3 น้ำหนัก 56-60 กรัม ผลการศึกษาพบว่า พ่อพันธุ์ไก่ดำเขาหลักให้ปริมาณน้ำเชื้อเฉลี่ย ความเข้มข้นของอสุจิเฉลี่ย และอัตราการรอดชีวิตของอสุจิ 329.75±69.01 µl/bird, 4,158.06±225.13 x106 spz/ml และ 92.21±2.72 % ตามลำดับ ในการรีดน้ำเชื้อแต่ละครั้งสามารถผสมเทียมกับแม่พันธุ์ได้ 12-28 ตัว อัตราการผสมติด 89.82±4.08 % แม่พันธุ์ไก่ดำเขาหลักเริ่มให้ผลผลิตไข่ที่อายุเฉลี่ย 178.84±23.14 วัน จำนวนไข่เฉลี่ยสะสมตลอด 1 ปี 126.13±15.02 ฟอง/ตัว น้ำหนักไข่เฉลี่ย 61.59±8.09กรัม ไข่กลุ่มที่ 3 มีอัตราการสูญเสียน้ำหนักฟองไข่ระหว่างการเก็บรักษา (p < 0.05) และระหว่างการฟักไข่ต่ำ (p < 0.01) ไข่กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 2 มีผลต่อ %น้ำหนักลูกไก่หลังการฟักออกสูง (p < 0.05) จากผลการทดลองสรุปได้ว่า ประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์ของไก่ดำเขาหลักนั้นอยู่ในเกณฑ์ดีสามารถนำไปใช้เพื่อการพัฒนาการขยายพันธุ์ไก่ดำของเกษตรกรได้ |