ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามสมาชิกสภาเทศบาลและผู้บริหารเทศบาลมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลนั้นเป็นคู่สัญญา
รหัสดีโอไอ
Creator สพรรณชนก จรุณจิรพัฒน์
Title ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามสมาชิกสภาเทศบาลและผู้บริหารเทศบาลมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลนั้นเป็นคู่สัญญา
Publisher คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
Publication Year 2557
Journal Title วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
Journal Vol. 7
Journal No. 2
Page no. 66-93
Keyword การมีส่วนได้เสียในสัญญา, การขัดกันแห่งผลประโยชน์, หลักการไม่มีส่วนได้เสีย, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ISSN 1906425X
Abstract บทคัดย่อ มาตรา 18 ทวิ และมาตรา 48 จตุทศ (3) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 บัญญัติห้ามสมาชิกสภาเทศบาลและผู้บริหารเทศบาลมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลนั้นเป็นคู่สัญญา โดยเหตุที่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้มีคำนิยามหรือคำอธิบายความหมายของคำว่า "ส่วนได้เสียทางตรงหรือทางอ้อม" ไว้ จึงมีปัญหาในการใช้และการตีความของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่กำกับดูแลเทศบาล และต้องเป็นผู้สอบสวนและวินิจฉัยปัญหากรณีสมาชิกสภาเทศบาลหรือผู้บริหารเทศบาลมีส่วนได้เสียในสัญญา การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความหมายและขอบเขตการตีความบทบัญญัติดังกล่าว โดยศึกษาและวิเคราะห์จากแนวความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เพื่อให้ทราบว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาและศาลปกครองสูงสุดได้ให้ความหมายและขอบเขตของบทบัญญัติดังกล่าวอย่างไร ใช้หลักการใดในการวินิจฉัยปัญหาการเป็นผู้มีส่วนได้เสียของสมาชิกสภาเทศบาลหรือผู้บริหารเทศบาลในแต่ละประเด็น และเจตนารมณ์ที่แท้จริงของบทบัญญัติดังกล่าวควรเป็นเช่นไรจากการศึกษาและพิเคราะห์พบว่า หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาใช้ตีความคำว่า "ส่วนได้เสีย" เป็นการตีความโดยใช้หลักส่วนได้เสีย อันมีรากฐานมาจากหลักความเป็นกลาง (Impartiality) ซึ่งมีความมุ่งหมายเพื่อห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจในการวินิจฉัยออกคำสั่ง อนุมัติ อนุญาต หรือสั่งการใดๆในเรื่องที่ตนมีส่วนได้เสียนั้น เนื่องจากจะทำให้การวินิจฉัยไม่มีความเป็นกลาง หรือมีอคติ หรือขาดความเที่ยงธรรม อันเป็นการตีความตามตัวอักษร แต่หลักเกณฑ์ที่ศาลปกครองสูงสุดใช้ในการตีความ คือ หลักการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจัดทำบริการสาธารณะของรัฐเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม และประชาชนได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะอย่างเสมอภาค และป้องกันผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์ขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งลดแรงจูงใจที่จะก่อให้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้อีกด้วย อันเป็นการตีความโดยพิจารณาจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย Abstract Section 18 bis and Section 48 quattuordecim (3) of the Municipality Act B.E. 2496 prohibit members of the City Council (alderman) and municipality administrators from having direct or indirect interest in the contract to which that municipality is the party. As those provisions do not provide definition or interpretation of the term "direct or indirect interest", it is a problem for the Governor as an officer in charge of supervision of the municipality in implementing and interpreting the law when he/she needs to carry out investigation and make decision whether any member of the City Council (alderman) or municipality administrator has contractual interest. This thesis aims to investigate and analyze meaning and scope of interpretation of those provisions. The study will first focus on opinions given by the Council of the State and decisions of the Supreme Administrative Court in order to know what is the meaning and scope given to those provisions by the Council of the State and the Supreme Administrative Court and what principles are applied in answering the question of being an interested person of members of the City Council or municipality administrators and also to ultimately explore the actual intention of those provisions of law. Findings from the study and analysis suggest that the criteria applied by the Council of the State in defining the term "interest" is based on the principle of impartiality which aims to prohibit public officer from exercising one's power to issue decision and order, to grant approval or permission or to give instruction to any matter in which that such officer has an interest as it may cause his/her decision to be rendered with partiality, prejudice or injustice; which is the textual interpretation approach. On the other hand, the criteria applied by the Supreme Administrative Court involves the principle of conflict of interest aimed to ensure that public services are provided properly to the extent that people can benefit of those public services equally and also to prevent possible damage from the situation of conflict of interest and to divert motive to seek for unjust benefit. This represents the interpretation by referring to the spirit of law.

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ