การพัฒนาความสามารถในการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชัน ClassDojo
รหัสดีโอไอ
Creator ณัฏฐ์ณิชา วรรณทิพย์
Title การพัฒนาความสามารถในการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชัน ClassDojo
Contributor สิทธิพล อาจอินทร์
Publisher งานวารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม
Publication Year 2567
Journal Title วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
Journal Vol. 14
Journal No. 2
Page no. 358-370
Keyword ภาษาอังกฤษ, ความสามารถในการพูด, ความสามารถในการเขียน, การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน, ClassDojo Application
URL Website https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj
Website title เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
ISSN 3057-1162
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษและพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชัน ClassDojo กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 43 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือการปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานแอปพลิเคชัน ClassDojo จำนวน 6 แผน รวมเวลา 12 ชั่วโมง เครื่องมือสะท้อนผลการปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษท้ายวงจร และแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษท้ายวงจร และเครื่องมือประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถ ด้านการพูดภาษาอังกฤษแบบปากเปล่า และแบบทดสอบความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษแบบอัตนัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเฉลี่ยเท่ากับ 11.37 คิดเป็นร้อยละ 75.78 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ 35 คน คิดเป็นร้อยละ 81.40 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเฉลี่ยเท่ากับ 11.83 คิดเป็นร้อยละ 78.86 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ 33 คน คิดเป็นร้อยละ 76.74 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ