ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร : กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา
รหัสดีโอไอ
Creator ธนาวัฒน์ ปัทมฤทธิกุล
Title ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร : กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยว เชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา
Contributor ประนิทัศ ภูขีด
Publisher งานวารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม
Publication Year 2567
Journal Title วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
Journal Vol. 14
Journal No. 2
Page no. 143-157
Keyword ปัจจัยสู่ความสำเร็จ, แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร, การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร, เกษตรทฤษฎีใหม่, เกษตรอินทรีย์
URL Website https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj
Website title เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
ISSN 3057-1162
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและปัจจัยสู่ความสำเร็จ ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ผู้ประกอบการและเจ้าของสวนเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 4 คน 2) ตัวแทนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 2 คน และ 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ วิธีวิทยาการศึกษาแบบเรื่องเล่าและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก คณะผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ เพื่อสร้างเรื่องเล่า และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรทั้ง 4 แห่ง มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการนำจุดเด่นและแก่นคุณค่าทางการเกษตร เป็นจุดขายของสวน รวบรวมองค์ความรู้ทางการเกษตร สามารถจัดการการท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี มีความพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ทั้งการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลายและการจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ ความรู้ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และเกิดความประทับใจ 2) เหตุปัจจัยปัจจัยอันนำไปสู่ความสำเร็จในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรมี 4 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย ตนเอง (เกษตรกร เจ้าของสวน) การบริหารจัดการ แหล่ง (สวนเกษตร ฟาร์มเกษตร ศูนย์เรียนรู้) และเครือข่ายความร่วมมือ ผลจากการศึกษาสามารถใช้เป็นหลักเกณฑ์ข้อมูล ในเชิงวิชาการสำหรับผู้ประกอบการและเจ้าของสวนเกษตรนำผลการวิจัยไปใช้เป็นต้นแบบเพื่อวิเคราะห์สภาพการจัดการหลักกระบวนการในการพัฒนายกระดับพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และเป็นต้นแบบในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ให้ทราบปัญหาและช่องว่างในการจัดการเพื่อให้สามารถพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้มีประสิทธิภาพ
วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ