การศึกษาขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจการท่องเที่ยวในกลุ่มชาติพันธุ์ลุ่มน้ำโขง
รหัสดีโอไอ
Creator พรลภัส สุวรรณรัตน์
Title การศึกษาขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจการท่องเที่ยวในกลุ่มชาติพันธุ์ลุ่มน้ำโขง
Contributor ศุภฤกษ์ สุขสมาน
Publisher งานวารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม
Publication Year 2567
Journal Title วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
Journal Vol. 14
Journal No. 2
Page no. 111-126
Keyword ความสามารถในการแข่งขัน, ชาติพันธุ์ลุ่มน้ำโขง, การท่องเที่ยว, การพัฒนาการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์
URL Website https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj
Website title เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
ISSN 3057-1162
Abstract การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสาขาของธุรกิจการท่องเที่ยวเป้าหมายของกลุ่มชาติพันธุ์ลุ่มน้ำโขง ที่มีศักยภาพในการแข่งขันและศึกษาขีดความสามารถในการแข่งขันของสาขาธุรกิจการท่องเที่ยวเป้าหมายของกลุ่มชาติพันธุ์ลุ่มน้ำโขง ในส่วนของพื้นที่ศึกษาวิจัย ทีมผู้วิจัยเลือกพื้นที่ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ใน 4 จังหวัดที่มีอาณาเขตระหว่างไทยและลาว คือ จังหวัดเลย หนองคาย นครพนม และมุกดาหาร ซึ่งประกอบด้วย 8 ชาติพันธุ์ อันได้แก่ ไทดำ ไทพวน ไทญ้อ ภูไท ไทแสก ไทข่า/บรู ไทโส้ และไทกะเลิง โดยทำการวิจัยเชิงสำรวจโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 3,035 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือของการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มชาติพันธุ์ไทดำและภูไทมีความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจการท่องเที่ยวที่โดดเด่นในธุรกิจที่พักแรม ในขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์ไทพวน ไทโส้ ไทญ้อ ไทข่า/บรู และไทกะเลิง มีความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจการท่องเที่ยว ที่โดดเด่นในธุรกิจสินค้าที่ระลึก ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ไทแสกมีความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจการท่องเที่ยวที่โดดเด่นในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 2) ขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มชาติพันธุ์ลุ่มน้ำโขงในธุรกิจท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลาง และ 3) ปัจจัยการผลิต ด้านอุปสงค์ ด้านกิจกรรมเชื่อมโยงและสนับสนุน ด้านความพร้อมในการแข่งขันและกลยุทธ์ทางธุรกิจ ด้านปัจจัยภาครัฐ และด้านปัจจัยเอื้ออื่นๆ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อความสำเร็จของชุมชนจากการพัฒนาของธุรกิจการท่องเที่ยวในกลุ่มชาติพันธุ์ลุ่มน้ำโขง ทีมผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ การท่องเที่ยวในกลุ่มชาติพันธุ์ลุ่มน้ำโขง โดยการจำแนกตามความเหมาะสมกับกลุ่มศักยภาพและความโดดเด่นที่แตกต่างกัน
วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ