![]() |
คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | นริศรา มณีสาร |
Title | คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร |
Contributor | อัจฉราวรรณ รัตนพันธ์ |
Publisher | งานวารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 99-110 |
Keyword | คุณภาพการให้บริการ, กระบวนการตัดสินใจ, แอปพลิเคชัน, ฟู้ดเดลิเวอรี่, ผู้บริโภค |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj |
Website title | เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย |
ISSN | 3057-1162 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการและกระบวนการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์สมการถดถอย ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านการรู้จักและเข้าใจลูกค้า และด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ตามลำดับ และ 2) การบวนการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านพฤติกรรมหลังการใช้บริการ ด้านการตระหนักถึงปัญหาหรือความต้องการ ด้านการตัดสินใจใช้บริการ ด้านการเสาะแสวงหาข้อมูลและด้านการประเมินทางเลือก ตามลำดับ และ 3) คุณภาพการให้บริการส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร คือ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการรู้จักและเข้าใจลูกค้าด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ และด้านความเป็นรูปธรรมของบริการตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการฟู้ดเดลิเวอรี่ในการพัฒนารูปแบบของบริการและการปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค เพื่อการยกระดับคุณภาพการให้บริการในตลาดบริการฟู้ดเดลิเวอรี่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |