![]() |
การปรับตัวของเหยื่อสงครามเขมรแดงในวรรณกรรมเรื่อง "4 ปีนรกในเขมร" และ "หนีไฟนรก" |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | นิพัทธ์ แย้มเดช |
Title | การปรับตัวของเหยื่อสงครามเขมรแดงในวรรณกรรมเรื่อง "4 ปีนรกในเขมร" และ "หนีไฟนรก" |
Contributor | พัชราพรรณ กะตากูล |
Publisher | งานวารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 228-241 |
Keyword | วรรณกรรม, 4 ปี นรกในเขมร, หนีไฟนรก, เหยื่อสงครามเขมรแดง, ทฤษฎีการปรับตัวของรอย |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj |
Website title | เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย |
ISSN | 2651-2459 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของเหยื่อสงครามเขมรแดง และเพื่อเปรียบเทียบแนวคิด การปรับตัวของเหยื่อสงครามเขมรแดงในวรรณกรรมเรื่อง "4 ปี นรกในเขมร" และ "หนีไฟนรก" ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ เหยื่อสงครามเขมรแดงจำนวน 2 คน ได้แก่ ยาสึโกะ นะอิโต และเจีย กิมลั้ง สำหรับเครื่องมือในการวิจัย ผู้วิจัยประยุกต์แนวคิดวรรณกรรมกับสังคม เพื่อพิจารณาว่าผู้เล่าเรื่องสะท้อนภาพสังคมช่วงเวลานั้นอย่างไร และทฤษฎีการปรับตัวของซิสเตอร์คอลลิสตา รอย ซึ่งอธิบายวิธีการปรับตัวของบุคคลตามสิ่งเร้าหรือบริบทสิ่งแวดล้อม จำแนกออกเป็น 3 ด้าน คือ 1. สิ่งเร้าโดยตรง 2. สิ่งเร้าบริบท 3. สิ่งเร้าแฝง ผลการวิจัยพบว่า (1) เหยื่อสงครามเขมรแดงเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับสิ่งเร้าโดยตรง สิ่งเร้าบริบท และสิ่งเร้าแฝงได้อย่างกลมกลืนกับสภาวะแวดล้อม ส่งผลให้เหยื่อสงครามมีชีวิตรอดจากสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชา (2) ศึกษาแนวคิดการปรับตัวของเหยื่อสงครามเขมรแดงพบว่า เหยื่อสงครามมีแนวคิดการปรับตัวตามภูมิหลังและประสบการณ์ชีวิตต่างกัน ยาสึโกะยึดแนวคิด "เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม" ส่วนกิมลั้งยึดแนวคิด"การเดินทางไปตามหาเส้นทางบนความฝัน" แนวคิดการปรับตัวนี้ทำให้เหยื่อสงครามเรียนรู้บทเรียนการมีชีวิตรอดจากสภาพแวดล้อมอันโหดร้าย และตระหนักว่าคุณค่าชีวิตอยู่ที่การไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา ประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัยนี้ ก่อให้เกิดการเรียนรู้คุณค่าของชีวิตมนุษย์ เห็นลักษณะร่วมการต่อสู้ของเหยื่อสงคราม คือ ความอดทน และความมุ่งมั่นเพื่ออพยพไปสู่ประเทศที่ปลอดภัย บทเรียนการมีชีวิตรอดของเหยื่อสงคราม จะทำให้เราตระหนักถึงความหมายของชีวิตมนุษย์ว่าทุกคนต่างปรารถนาอิสรภาพและรักษาลมหายใจไว้ให้ยาวนานเท่าที่จะทำได้ |