![]() |
มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในมหาวิทยาลัยของรัฐ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | บุญเลิศ โพธิ์ขำ |
Title | มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในมหาวิทยาลัยของรัฐ |
Publisher | งานวารสาร มหาวิทยาลัยนครพนม |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 198-212 |
Keyword | มาตรการทางกฎหมาย, ป้องกัน, ปราบปราม, คอร์รัปชั่น, มหาวิทยาลัยของรัฐ |
URL Website | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj |
Website title | เว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย |
ISSN | 2651-2459 |
Abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการแนวคิดทฤษฎีของมาตรการทางกฎหมายในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น รูปแบบการทุจริตคอร์รัปชั่น มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นและการจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ในมหาวิทยาลัยของรัฐ มีกลุ่มเป้าหมายการวิจัยครั้งนี้เลือกแบบเจาะจง จำนวน 140 คน โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกรรมด้านการค้าขายกับมหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 10 คน เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 40 คน เป็นผู้บริหารในมหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 10 คน เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 40 คน เป็นเจ้าหน้าที่ จำนวน 40 คน ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ศึกษาเชิงคุณภาพได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมสนทนากลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยที่ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นประเด็นปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นเริ่มแต่ต้นทางคือผู้เสนอโครงการต่อมา ก็เป็นระบบจัดซื้อจัดจ้าง การมีส่วนได้เสียระหว่าง ผู้มีอำนาจอนุมัติกับญาติพี่น้องเพื่อนฝูง การเลี่ยงระเบียบ มีการแยกซื้อ แยกจ้าง การสมยอมราคาระหว่างผู้ประมูลราคา การส่งสินค้าต่ำกว่ามาตรฐาน การตรวจสอบไม่มีประสิทธิภาพแนวคิดการกินตามน้ำเป็นเรื่องธรรมดา การบรรจุแต่งตั้งคนรู้จักพวกพ้อง การกระทำผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เป็นต้น รูปแบบของการทุจริตคอร์รัปชั่นมีดังนี้ 1) บุคลากร ในมหาวิทยาลัยที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ได้แก่ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมีเจตนาทุจริต 2) อาศัยความเป็นนิติบุคคลของมหาวิทยาลัยเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง 3) ระบบตรวจสอบภายในขององค์กรขาดประสิทธิภาพและบุคลากร ผู้มีส่วนได้เสียขาดความรู้ความเข้าใจในการตรวจสอบ 4) ระบบการลงโทษไม่ก่อให้เกิดความเกรงกลัวในการกระทำความผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้องสืบเนื่องจากระบบการตรวจสอบในมหาวิทยาลัยขาดประสิทธิภาพ 5) การทุจริตในมหาวิทยาลัยเกี่ยวโยงกับภาคเอกชน ภาคการเมืองและภาคราชการ 6) การทุจริตมีปัญหารากฐานจากทัศนคติของผู้คนในสังคม ทัศนคติ วัฒนธรรมและความแข็งในทางคุณธรรมของสังคมเป็นภาคสะท้อนถึงปัญหาการทุจริตของสังคมไทย การจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในมหาวิทยาลัย ของรัฐได้นำหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีซึ่งประกอบด้วย หลักประสิทธิผลหลักนิติธรรม หลักความเสมอภาคและหลักมุ่งเน้นฉันทามตินำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในมหาวิทยาลัยของรัฐเพื่อให้การทุจริตคอร์รัปชั่นหมดไปในที่สุด |