![]() |
ผลของการจัดกิจกรรมเกมเบ็ดเตล็ดตามแนวคิดการสอนภาษาแบบตอบสนองด้วยท่าทาง เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการปฏิบัติตามคำสั่งของเด็กปฐมวัยสองภาษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | กิ่งกมล คงเรือง |
Title | ผลของการจัดกิจกรรมเกมเบ็ดเตล็ดตามแนวคิดการสอนภาษาแบบตอบสนองด้วยท่าทาง เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการปฏิบัติตามคำสั่งของเด็กปฐมวัยสองภาษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช |
Contributor | ปิยลักษณ์ อัครรัตน์, ศุภวรรณ์ เล็กวิไล |
Publisher | มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 13-24 |
Keyword | เกมเบ็ดเตล็ด, การสอนภาษาแบบตอบสนองด้วยท่าทาง, ความสามารถด้านการฟังและการปฏิบัติตามคำสั่ง, เด็กปฐมวัยสองภาษา |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU |
ISSN | 3088-1129 |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังและการปฏิบัติตามคำสั่งของเด็กปฐมวัยสองภาษาก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมเกมเบ็ดเตล็ดตามแนวคิดการสอนภาษาแบบตอบสนองด้วยท่าทาง ประชากร ได้แก่เด็กปฐมวัยสองภาษาชายและหญิง อายุ 3 - 4 ปี ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 4 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 64 คน ทุกห้องเรียนมีลักษณะคล้ายคลึงกัน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม 1 ห้องเรียน จาก 4 ห้องเรียน จำนวน 16 คน ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 – 40 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การจัดกิจกรรมเกมเบ็ดเตล็ดตามแนวคิดการสอนภาษาแบบตอบสนองด้วยท่าทาง จำนวน 24 แผน ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67–1.00 และแบบทดสอบภาคปฏิบัติวัดความสามารถด้านการฟังและการปฏิบัติตามคำสั่งของเด็กปฐมวัยสองภาษา ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ที่ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาคุณภาพของเครื่องมือได้แก่ ค่าความยากง่าย มีค่าระหว่าง 0.20 – 0.70 ค่าอำนาจจำแนก มีค่าระหว่าง 0.20 – 0.50 ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร KR - 20 มีค่าเท่ากับ 0.80 และสถิติในการทดสอบสมมติฐานคือ ค่าที ที่ไม่เป็นอิสระจากกันผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยสองภาษาหลังได้รับการจัดกิจกรรมเกมเบ็ดเตล็ดตามแนวคิดการสอนภาษาแบบตอบสนองด้วยท่าทางสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .50 ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน ทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านที่ 1 ประเภททีพีอาร์ - ร่างกาย ด้านที่ 2 ประเภททีพีอาร์ - สิ่งของ ด้านที่ 3 ประเภททีพีอาร์ - รูปภาพ และด้านที่ 4 ประเภททีพีอาร์ - เรื่องราว จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมเกมเบ็ดเตล็ดตามแนวคิดการสอนภาษาแบบตอบสนองด้วยท่าทางสามารถส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการปฏิบัติตามคำสั่งของเด็กปฐมวัยสองภาษาได้ทั้งในภาพรวมและจำแนกแบบรายด้าน |