![]() |
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะความสามารถในการรับส่งลูกฟุตบอลในกีฬาฟุตซอลโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วรปรัชญ์ หวังกลาง |
Title | การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะความสามารถในการรับส่งลูกฟุตบอลในกีฬาฟุตซอลโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
Contributor | จันทร์ ติยะวงศ์ |
Publisher | มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
Journal Vol. | 14 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 127-136 |
Keyword | การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความสามารถในการรับส่งลูกฟุตบอลในกีฬาฟุตซอล |
URL Website | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU |
ISSN | 3088-1129 |
Abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนซึ่งได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยเปรียบเทียบ 2 ลักษณะ คือ ก่อนเรียนกับหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการรับส่งลูกฟุตบอลในกีฬาฟุตซอล กับเกณฑ์ 75 % รูปแบบการวิจัยเป็นแบบ One group pre-test post-test กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566โรงเรียนบ้านขามเฒ่า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) จากประชากร จำนวน 34 คน ที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านไพ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 22 คน และจากโรงเรียน บ้านขามเฒ่า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการรับส่งลูกฟุตบอลในกีฬาฟุตซอล โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ซึ่งผลการตรวจสอบคุณภาพมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X=469, S.D.=0.45) 2 ) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.77 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.41 ถึง 0.77 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 3) แบบประเมินความสามารถในการรับส่งลูกฟุตบอลในกีฬาฟุตซอล มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบ t (t-test)ผลการวิจัยพบว่า1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .012. คะแนนความสามารถในการรับส่งลูกฟุตบอลในกีฬาฟุตซอล สูงกว่าเกณฑ์ 75 % อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |