วิเคราะห์การใช้ภาษาพรรณนาภูมินามในนิราศเมืองแกลง ของสุนทรภู่
รหัสดีโอไอ
Creator ณรงค์ฤทธิ์ สุขสวัสดิ์
Title วิเคราะห์การใช้ภาษาพรรณนาภูมินามในนิราศเมืองแกลง ของสุนทรภู่
Contributor อุดมลักษณ์ ระพีแสง, สุวิชา ถาวร
Publisher สถาบันภาษาและกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
Publication Year 2567
Journal Title มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Journal Vol. 12
Journal No. 2
Page no. 136 - 150
Keyword ภาษาพรรณนา, นิราศเมืองแกลง, ภูมินาม
URL Website https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/index
Website title มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ISSN 2673-0170 (Online)
Abstract การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภูมินามที่ปรากฏในนิราศ เมืองแกลง ของสุนทรภู่ 2) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการใช้ภาษาเพื่อการพรรณนาภูมินามในนิราศเมืองแกลง ของสุนทรภู่ ผลการวิจัยพบว่า การใช้ภาษาพรรณนาภูมินามของสุนทรภู่ในนิราศเมืองแกลง พบได้ 8 ลักษณะ ได้แก่ 1) การใช้ภาษาสะท้อนอารมณ์และความรู้สึก โดยใช้คำที่มีความหมายลึกซึ้งและใช้ภาพพจน์ ที่สื่ออารมณ์ความรู้สึก 2) การสร้างภาพพจน์ด้วยการเปรียบเทียบ เพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการถึงสถานที่และบรรยากาศได้อย่างมีชีวิตชีวา 3) การใช้ภาษาเชื่อมโยงภูมินามกับความรู้สึกส่วนตัว ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพของสถานที่และรับรู้ถึงความรู้สึกและประสบการณ์ของสุนทรภู่ 4) การพรรณนาลักษณะทางกายภาพ ของภูมิประเทศ ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการและเห็นภาพสถานที่ได้อย่างชัดเจน 5) การใช้ภาษาสะท้อน วิถีชีวิตและวัฒนธรรม เพื่อพรรณนาให้เห็นถึงการดำรงชีวิต อาชีพและประเพณีของผู้คน 6) การใช้คำที่สื่อ ถึงความยากลำบากในการเดินทาง ทำให้เข้าใจและมีรู้สึกร่วมกับความท้าทายที่ต้องเผชิญระหว่างการเดินทาง 7) การใช้ภาษาที่สื่อถึงความงดงามของธรรมชาติ ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการและการสัมผัสถึงความงดงามของสถานที่ต่าง ๆ และ 8) การใช้ภาษาที่สื่อถึงความศักดิ์สิทธิ์และความเชื่อ เพื่อสะท้อนความเชื่อและวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ซึ่งการใช้ภาษาทั้ง 8 ลักษณะแสดงให้เห็นถึงความสามารถของสุนทรภู่ด้านการใช้ภาษาเพื่อสร้างความลึกซึ้งในบทกวีและสะท้อนความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ในใจของสุนทรภู่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ