![]() |
กลวิธีการใช้ภาษาภาพพจน์ที่ปรากฏในคำปราศรัย ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | Liu Bo |
Title | กลวิธีการใช้ภาษาภาพพจน์ที่ปรากฏในคำปราศรัย ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง |
Contributor | ขนิษฐา ใจมโน, บุญเหลือ ใจมโน, Truong Thi Hang |
Publisher | สถาบันภาษาและกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 122 - 135 |
Keyword | ภาพพจน์, คำปราศรัย, การสื่อสารทางการเมือง, สี จิ้นผิง |
URL Website | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/index |
Website title | มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
ISSN | 2673-0170 (Online) |
Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาภาพพจน์ที่ปรากฏในคำปราศรัย ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง โดยศึกษาจากคำปราศรัยในโอกาสสำคัญต่าง ๆ ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย จำนวน 1 เล่ม ได้แก่ เรื่อง ความคิดและวาทะสี จิ้นผิง สำนักพิมพ์แสงดาว ปีที่พิมพ์ 2558 โดยคัดเลือก คำปราศรัยในช่วงปี พ.ศ. 2555-2557 จำนวน 79 คำปราศรัย ที่มีการใช้ภาพพจน์ชัดเจนและเป็นคำปราศรัยในโอกาสสำคัญระดับประเทศและระหว่างประเทศ การวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ (Qualitative Content Analysis) ผ่านการจำแนกประเภท วิเคราะห์ความหมาย และตีความการใช้ภาพพจน์ผลการวิจัยพบว่า คำปราศรัยของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง มีการใช้ภาพพจน์ 4 ประเภทหลัก ได้แก่ 1) อุปมา ที่เปรียบเทียบแนวคิดนามธรรมกับสิ่งที่เป็นรูปธรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การเปรียบสันติภาพ กับอากาศและแสงแดด 2) อุปลักษณ์ ที่แสดงถึงพลังและความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลง เช่น การเปรียบกระแสโลกกับพายุ 3) บุคลาธิษฐาน ที่ให้คุณลักษณะของสิ่งมีชีวิตแก่สิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น การเปรียบสงครามเป็นปีศาจและฝันร้าย และ 4) สัญลักษณ์ ที่ใช้อธิบายอัตลักษณ์และจุดยืนของประเทศ เช่น การใช้ DNA และสายเลือดเป็นสัญลักษณ์แทนรากเหง้าของประชาชาติจีนการใช้ภาพพจน์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นกลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดแนวคิดและนโยบายที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่าย รวมทั้งสะท้อนวิสัยทัศน์และนโยบายสำคัญของจีนในด้านการพัฒนาประเทศ การรักษาสันติภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาการสื่อสารทางการเมือง การเรียนการสอนด้านภาษาและการสื่อสาร และการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ |