![]() |
เวียงเจ็ดลิน: การพลิกฟื้นประวัติศาสตร์ที่ถูกลืมด้วยการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ธิตินัดดา จินาจันทร์ |
Title | เวียงเจ็ดลิน: การพลิกฟื้นประวัติศาสตร์ที่ถูกลืมด้วยการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม |
Contributor | สันต์ สุวัจฉราภินันท์, วรงค์ วงศ์ลังกา, ฐิตาภัทร์ โสมจำรูญ, บัณฑิต ยศมีบุญ, วราพล สุริยา |
Publisher | สถาบันภาษาและกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
Journal Vol. | 12 |
Journal No. | 2 |
Page no. | 87 - 106 |
Keyword | เวียงเจ็ดลิน, เชียงใหม่, ประวัติศาสตร์ล้านนา, เมืองโบราณ, ทุนทางวัฒนธรรม, การออกแบบผลิตภัณฑ์ |
URL Website | https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/index |
Website title | มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
ISSN | 2673-0170 (Online) |
Abstract | การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์เวียงเจ็ดลินและทุนทางวัฒนธรรม ในพื้นที่ และหาแนวทางพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่เวียงเจ็ดลินเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่สังคม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสำรวจภาคสนาม และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 5 คนที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การจดบันทึก และการบันทึกภาพเป็นเครื่องมือวิจัย ผลการศึกษาพบว่า เวียงเจ็ดลินเป็นเวียงโบราณที่มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 900 เมตร ประวัติศาสตร์ของเวียงเจ็ดลินปรากฏอยู่ 2 ยุค คือยุคตำนานและยุคประวัติศาสตร์ ในปัจจุบันนี้ พื้นที่เวียงเจ็ดลินถูกแบ่งแยกและครอบครองโดยหน่วยงานต่างๆ 3 แห่ง ได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และสวนรุกขชาติห้วยแก้ว ทุนทางวัฒนธรรมที่ปรากฏหลงเหลือ ในพื้นที่ทั้ง 3 นั้นประกอบด้วย 1) ตาน้ำศักดิ์สิทธิ์ 2) หลักฐานทางโบราณคดี เช่น คูน้ำคันดิน กำแพงเมือง และ 3) พืชพรรณและระบบนิเวศคณะนักวิจัยได้นำเอาทุนทางวัฒนธรรมดังกล่าวมาพัฒนาเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่สังคมวงกว้าง สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่พื้นที่ด้วยวิธีการออกแบบและการใช้เส้นเรื่องเป็นตัวขับเคลื่อน โดยมีแนวทางการพัฒนา 3 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ 1) การออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เวียงเจ็ดลิน 2) การออกแบบศาลาตาน้ำเวียงเจ็ดลินเพื่อใช้เป็นสาธารณประโยชน์ และ 3) การออกแบบผลิตภัณฑ์ของใช้ ของที่ระลึก เพื่อจำหน่ายในร้านจำหน่ายสินค้าของสำนักงานปศุสัตว์เชียงใหม่ ทั้งนี้ การดำเนินการวิจัยได้ร่วมมือ กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวียงเจ็ดลิน เช่น สำนักงานปศุสัตว์เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนา เพื่อที่จะร่วมขับเคลื่อนให้ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง |