อิทธิพลของภาษาไทยที่มีต่อภาษาไทเขินถิ่นเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและภาษาไทเขินถิ่นเชียงใหม่ ประเทศไทย
รหัสดีโอไอ
Creator อรพัช บวรรักษา
Title อิทธิพลของภาษาไทยที่มีต่อภาษาไทเขินถิ่นเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและภาษาไทเขินถิ่นเชียงใหม่ ประเทศไทย
Contributor วิราพร หงษ์เวียงจันทร์, เนมิ อุนากรสวัสดิ์
Publisher สถาบันภาษาและกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
Publication Year 2567
Journal Title มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
Journal Vol. 12
Journal No. 2
Page no. 47 - 68
Keyword ไทเขิน, เชียงตุง, เชียงใหม่, หน่วยเสียงวรรณยุกต์, คำศัพท์
URL Website https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/index
Website title มังรายสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ISSN 2673-0170 (Online)
Abstract บทความวิจัยเรื่องอิทธิพลของภาษาไทยที่มีต่อภาษาไทเขินถิ่นเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมาและภาษาไทเขินถิ่นเชียงใหม่ ประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลของระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยที่มีต่อระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทเขินถิ่นเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และภาษาไทเขินถิ่นเชียงใหม่ ประเทศไทย และ 2) ศึกษาอิทธิพลของคำศัพท์ภาษาไทยที่มีต่อคำศัพท์ภาษาไทเขินถิ่นเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและภาษาไทเขินถิ่นเชียงใหม่ ประเทศไทย ผลการศึกษาอิทธิพลของระบบเสียงวรรณยุกต์พบว่าหน่วยเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทเขินทั้ง 2 ถิ่นมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 5 หน่วยเสียงเท่ากัน มีการแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์เป็น 3 ทาง (Three ways split) เหมือนกัน และมีการแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์ในแนวตั้งตรงกัน แสดงให้เห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินยังคงอัตลักษณ์หน่วยเสียงวรรณยุกต์ตัวเองไว้ได้เป็นอย่างดี ด้านอิทธิพลของคำศัพท์พบว่าทั้งภาษาไทเขินทั้ง 2 ถิ่นได้รับอิทธิพลจากภาษาไทย โดยภาษาไทยมาตรฐานมีอิทธิพลต่อทั้งภาษาไทเขินถิ่นเชียงตุงและภาษาไทเขินถิ่นเชียงใหม่ ส่วนภาษาไทย ถิ่นเหนือมีอิทธิพลต่อภาษาไทเขินถิ่นเชียงใหม่เท่านั้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ