![]() |
การพัฒนากระบวนการส่งผ่านข้อมูลเพื่อสนับสนุนการจัดทำรายงานประกันคุณภาพระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ภูมินทร์ ดวงหาคลัง |
Title | การพัฒนากระบวนการส่งผ่านข้อมูลเพื่อสนับสนุนการจัดทำรายงานประกันคุณภาพระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ |
Contributor | นิภาภรณ์ เอื้อตรงจิตต์ และ ณัฐวฒิ บุญโรจน์วงค์ |
Publisher | มหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Publication Year | 2567 |
Journal Title | วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม |
Journal Vol. | 10 |
Journal No. | 4 |
Page no. | 181 ถึง 191 |
Keyword | รายงานการประกันคุณภาพ, เครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน, กระบวนการส่งผ่านข้อมูล |
URL Website | https://mitij.mju.ac.th/ |
Website title | วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม |
ISSN | ISSN 3027-7280 (Online) |
Abstract | งานวิจัยนี้จัดอยู่ในประเภทการวิจัยประยุกต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการส่งผ่านข้อมูล (Data Pipeline Process) ในการสนับสนุนการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐาน AUN-QA (ASEAN University Network-Quality Assurance) โดยใช้กรณีศึกษาจากมหาวิทยาลัยพายัพ กระบวนการที่ได้จากงานวิจัยนี้ เริ่มต้นจากการดึงข้อมูลนักศึกษาในปีการศึกษาที่ต้องการจากฐานข้อมูลระบบทะเบียนและบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ ข้อมูลที่ได้จะถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการวิเคราะห์และจัดเก็บลงในฐานข้อมูลเอสคิวไลท์ (SQLite) ซึ่งมีขนาดเล็กเพื่อความรวดเร็วในการประมวลผล หลังจากนั้นข้อมูลจะถูกนำไปสร้างเป็นตารางข้อมูลสถิติการศึกษา ในรูปแบบไฟล์ไมโครซอฟต์เอ็กเซล (Microsoft Excel) ที่สามารถนำไปใช้ในการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร คณะผู้วิจัยใช้ภาษาไพธอน (Python) ในการพัฒนาระบบให้มีการทำงานอย่างอัตโนมัติในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการส่งผ่านข้อมูลที่ได้ออกแบบไว้ โดยระบบจะให้ผู้ใช้เลือกปีการศึกษาและหลักสูตรที่ต้องการ หลังจากนั้นระบบจะประมวลผลและแสดงข้อมูลสถิติการศึกษาในรูปแบบไฟล์ไมโครซอฟต์เอ็กเซลจำนวน 5 ตาราง ได้แก่ 1) จำนวนนักศึกษาปัจจุบัน 2) จำนวนนักศึกษารับเข้า 3) จำนวนนักศึกษาคงอยู่ 4) จำนวนนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาและพ้นสภาพนักศึกษา และ 5) จำนวนนักศึกษาที่ลาออก คณะผู้วิจัยใช้แบบประเมินเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบทั้งทางด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน และด้านประสิทธิภาพของระบบ โดยมีผู้ประเมิน คือ บุคลากรในสังกัดสำนักแผนและพัฒนาองค์การ มหาวิทยาลัยพายัพ จำนวน 1 ท่าน ที่ดูแลและรับผิดชอบการดำเนินการประเมินคุณภาพของมหาวิทยาลัย และอาจารย์ในสังกัดสาขาวิชาต่าง ๆ จำนวน 9 สาขาวิชา สาขาวิชาละ 1 ท่าน ผลจากการประเมินพบว่า ความพึงพอใจในด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน และด้านประสิทธิภาพของระบบอยู่ในระดับดีมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.67 และ 4.75 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่ากระบวนการที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้งานได้จริงและสนับสนุนการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ |