![]() |
ฮิญาบกับการดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางของผู้พิพากษา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | ภรณี เกราะแก้ว |
Title | ฮิญาบกับการดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางของผู้พิพากษา |
Publisher | สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 261-290 |
Keyword | ผ้าคลุมศีรษะ, ฮิญาบ, เสรีภาพในการนับถือศาสนา, ความเป็นกลาง, ผู้พิพากษา |
URL Website | https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/ |
Website title | วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
ISSN | 2774-020X |
Abstract | หลักความเป็นกลางถือเป็นหนึ่งในหลักการสากลที่สำคัญสำหรับผู้พิพากษาในการปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษาจำเป็นต้องรักษาหรือดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางและต้องแสดงให้เห็นถึงความเป็นกลางดังกล่าวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้สาธารณชนทั้งในระดับตัวบุคคลและสถาบัน หลักการนี้ยังเป็นหลักประกันที่สำคัญในการมอบความยุติธรรมให้แก่ประชาชนโดยทำให้มั่นใจว่าการพิจารณาพิพากษาคดีจะดำเนินการโดยผู้พิพากษาที่มีความเป็นกลางและปราศจากอคติบทความนี้นำเสนอกรณีศึกษาในต่างประเทศซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้พิพากษาหญิงที่แสดงออกถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนาของเธอในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการปะทะกันระหว่างหลักเสรีภาพในการนับถือศาสนากับหลักความเป็นกลางของผู้พิพากษาในฐานะตัวแทนของรัฐ แม้เรื่องนี้จะเป็นประเด็นอ่อนไหวและยากในการหาสมดุลแต่บทความฉบับนี้มุ่งตั้งคำถามและชวนผู้อ่านค้นหาคำตอบผ่านการศึกษาคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐเยอรมนีในประเด็นดังกล่าว ท้ายที่สุดแล้วคำตอบที่ได้อาจไม่จำเป็นต้องมีแค่หนึ่งเดียวเพราะแม้แต่ในโลกตะวันตกประเทศหนึ่งให้การคุ้มครองการใช้เสรีภาพดังกล่าวแต่ในอีกประเทศหนึ่งให้น้ำหนักกับหลักความเป็นกลางซึ่งเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงไปถึงความเป็นกลางของรัฐแม้ในประเทศไทยยังไม่เคยเผชิญกับประเด็นดังกล่าวในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาก็ตาม แต่ก็เป็นหน้าที่ของนักกฎหมายทุกคนที่อาจตั้งประเด็นให้เกิดการฉุกคิดเพื่อนำไปสู่การพัฒนาในทางวิชาการต่อไปในอนาคต |