![]() |
ปัญหาในการบังคับจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภายใต้ข้อบทเรื่องบริการส่วนบุคคลที่เป็นอิสระ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | สรรค์ ตันติจัตตานนท์ |
Title | ปัญหาในการบังคับจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภายใต้ข้อบทเรื่องบริการส่วนบุคคลที่เป็นอิสระ |
Publisher | สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
Publication Year | 2568 |
Journal Title | วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
Journal Vol. | 8 |
Journal No. | 1 |
Page no. | 46-84 |
Keyword | ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, อนุสัญญาภาษีซ้อนฯ, การให้บริการส่วนบุคคลที่เป็นอิสระ |
URL Website | https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/ |
Website title | วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
ISSN | 2774-020X |
Abstract | การจัดเก็บภาษีจากบริการส่วนบุคคลที่เป็นอิสระเป็นประเด็นที่มีความยุ่งยากในการพิจารณาจัดเก็บภาษีตามกฎหมายภายในประเทศไทยและยิ่งเผชิญความซับซ้อนยิ่งขึ้นเมื่อต้องพิจารณาประกอบกับอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ ระหว่างประเทศ บทความนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีถิ่นที่อยู่ต่างประเทศและเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้ประมวลรัษฎากรไทยและการบังคับใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนฯ ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่ชัดเจน และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายภาษีในปัจจุบัน รวมทั้งเสนอแนะถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ปัญหาในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามบทบัญญัติในประมวลรัษฎากรของประเทศไทย เริ่มต้นจากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องจำแนกประเภทของเงินได้ตามมาตรา 40 ซึ่งเงินได้ที่บุคคลได้รับนั้นถือเป็นเงินได้ประเภทใดจะไปมีความสัมพันธ์กับเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับกรณีการให้บริการของบุคคลธรรมดานี้หากได้มีการดำเนินการโดยบุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ซึ่งผู้เสียภาษีจะเผชิญกับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากบทบัญญัติกฎหมายที่ไม่ชัดเจน ในส่วนของอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ บทความนี้จะมุ่งเน้นไปที่ข้อบทที่ 14 เรื่องการให้บริการส่วนบุคคลที่เป็นอิสระตามโครงร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ UN ซึ่งจะวิเคราะห์ถึงการบังคับใช้และสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น ประกอบกับการเปรียบเทียบการบังคับใช้กับโครงร่างต้นแบบอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ ของ OECD ซึ่งไม่มีข้อบทที่ 14 และจะมีผลย้อนกลับไปให้บังคับใช้ข้อบทที่ 5 เรื่องสถานประกอบการถาวรแทน การศึกษาถึงข้อบทเรื่องการให้บริการส่วนบุคคลที่เป็นอิสระภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อนฯ นี้กล่าวถึงความหมายของคำว่า “ฐานประกอบการประจำ” ที่ยังไม่มีแนวทางการตีความที่ชัดเจนในประเทศไทย รวมทั้งเงื่อนไขและหลักเกณฑ์อื่นที่ปรากฏตามอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ เช่น ประเด็นเรื่องการนับระยะเวลา ประเด็นการตีความบังคับกรณีเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับการบังคับจัดเก็บภาษีเงินได้จากการให้บริการส่วนบุคคลที่เป็นอิสระภายใต้กฎหมายรัษฎากรของประเทศไทย และอนุสัญญาภาษีซ้อนฯ นั้นอาจต้องทำการปรับปรุงกฎหมายและเพิ่มเติมแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีซึ่งจะมีผลทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายภาษีที่มีประสิทธิภาพและลดข้อพิพาทระหว่างประเทศอีกด้วย |