![]() |
ความนึกเปรียบเทียบการศึกษากับการทำเกษตรกรรม: มโนคติของผู้ใช้ภาษาในบริบทการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสมัยรัฐบาล คสช. พ.ศ. 2557-2562 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | วิฑูรย์ เมตตาจิตร |
Title | ความนึกเปรียบเทียบการศึกษากับการทำเกษตรกรรม: มโนคติของผู้ใช้ภาษาในบริบทการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสมัยรัฐบาล คสช. พ.ศ. 2557-2562 |
Contributor | วรวรรธน์ ศรียาภัย, วรัญญา ยิ่งยงศักดิ์, ศราวุธ หล่อดี |
Publisher | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
Journal Vol. | 17 |
Journal No. | 61 |
Page no. | 78 |
Keyword | ความนึกเปรียบเทียบ, การศึกษา, การทำเกษตรกรรม, มโนคติ, คสช. |
URL Website | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru |
Website title | วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
ISSN | 2774-1109 |
Abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความนึกเปรียบเทียบการศึกษากับการทำเกษตรกรรมซึ่งเป็นมโนทัศน์ของผู้ใช้ภาษาในบริบทการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พบระหว่างปี 2557-2562 โดยเก็บข้อมูลจากบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้มอบนโยบายทางการศึกษา ผู้รับนโยบายมาปฏิบัติ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งเป็นผลผลิตจากระบบการศึกษา ทั้งนี้ผู้วิจัยจะใช้แนวคิดความนึกเปรียบเทียบ และแนวคิดความเปรียบเชิงอุปลักษณ์ตามแนวทางภาษาศาสตร์ปริชาน โดยนำถ้อยคำที่สื่อมโนคติว่า การศึกษาเปรียบได้กับการทำเกษตรกรรมมาวิเคราะห์ ผลการการศึกษาพบมโนคติที่ใช้รูปภาษาแสดงความนึกเปรียบเทียบ จำนวน 180 ถ้อยคำ กล่าวถึงองค์ประกอบของการศึกษา 8 องค์ประกอบ คือ 1) ผู้บริหารการศึกษาระดับกระทรวงศึกษาธิการ 2) ผู้ปกครอง 3) สถานศึกษา 4) กระบวนการจัดการการศึกษา 5) พัฒนาการของนักเรียน 6) ปัญหาของระบบการศึกษา 7) การประเมินผลทางการศึกษา และ 8) ผู้เป็นผลผลิตทางการศึกษา องค์ประกอบของการศึกษาทั้ง 8 หน่วยแสดงให้เห็นว่า มุมมองทางความคิดของคนในสังคมไทยมอง "การศึกษา" ว่ามีความคล้ายคลึงกับ "การทำเกษตรกรรม" จึงนำมาเปรียบเทียบได้ ข้อค้นพบข้างต้นแสดงให้เห็นถึงมุมมองของบุคคลที่หลากหลายในสังคมที่มีแนวคิดต่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน |