![]() |
ปัจจัยที่มีผลต่อความยากจนและความเหลื่อมล้ำของรายได้ของผู้มีรายได้น้อย: กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | พิมพ์พร เกษดี |
Title | ปัจจัยที่มีผลต่อความยากจนและความเหลื่อมล้ำของรายได้ของผู้มีรายได้น้อย: กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ |
Publisher | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
Journal Vol. | 17 |
Journal No. | 61 |
Page no. | 26 |
Keyword | ความยากจน, ความเหลื่อมล้ำ, ผู้มีรายได้น้อย |
URL Website | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru |
Website title | วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
ISSN | 2774-1109 |
Abstract | งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของผู้มีรายได้น้อย กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีรายได้น้อย กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ให้พ้นกับดักความยากจน ประชากร คือ กลุ่มผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ในปีงบประมาณ 2561 จำนวน 54,366 ราย โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างของ Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ดังนั้น ขนาดตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้เท่ากับ 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยากจนและความเหลื่อมล้ำของรายได้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 255 คน และ เพศชาย จำนวน 145 คน ส่วนใหญ่อายุ 46-59 ปี จำนวน 141 คน รองลงมา อายุ 26-35 ปี จำนวน 104 คน และน้อยที่สุด อายุ ไม่เกิน 25 ปี จำนวน 35 คน ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษาหรือ ต่ำกว่า จำนวน 202 คน และรองลงมาได้แก่ ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จำนวน 105 คน ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 5,000 - 10,000 บาท จำนวน 241 คน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระหว่าง 10,001 - 15,000 บาท จำนวน 159 คน ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว ระหว่าง 4 - 6 คน จำนวน 243 คน และ ระหว่าง 2 - 3 คน จำนวน 157 คน ส่วนใหญ่เป็น ผู้มีค่าใช้จ่ายหลักในครอบครัว จำนวน 213 คน และไม่ใช่ผู้มีค่าใช้จ่ายหลักในครอบครัว จำนวน 187 คน และมีระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยากจนและความเหลื่อมล้ำของรายได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.62) ส่วนที่การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และระดับรายได้ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีอิทธิพลต่อความยากจนและความเหลื่อมล้ำของรายได้ ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาให้ครอบคลุมทุกอำเภอของจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม โดยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และควรทบทวนวรรณกรรมเพื่อเพิ่มตัวแปรที่เกี่ยวข้องในการศึกษา เช่น การได้รับความสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐผู้นำนโยบายมาปฏิบัติเพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประชาชน |