![]() |
รูปแบบการอนุรักษ์วัฒนธรรม บ้านหนองบัว อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย สำหรับการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Creator | 1. ไทยโรจน์ พวงมณี 2. คชสีห์ เจริญสุข |
Title | รูปแบบการอนุรักษ์วัฒนธรรม บ้านหนองบัว อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย สำหรับการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน |
Publisher | สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
Publication Year | 2565 |
Journal Title | วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
Journal Vol. | 17 |
Journal No. | 61 |
Page no. | 7 |
Keyword | รูปแบบการอนุรักษ์วัฒนธรรม, การจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน |
URL Website | https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru |
Website title | วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย |
ISSN | 2774-1109 |
Abstract | บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพื้นที่และสภาพวัฒนธรรมบ้านหนองบัว อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย และ 2) ศึกษารูปแบบการอนุรักษ์วัฒนธรรมบ้านหนองบัว อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย เก็บรวบรวมข้อมูลจากปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ตัวแทนของชุมชน กลุ่มการจัดการท่องเที่ยว และนักวิชาการท้องถิ่น จำนวน 20 คน ใช้การศึกษาเอกสาร การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) บ้านหนองบัวเป็นหมู่บ้านหนึ่งในอำเภอภูหลวง จังหวัดเลย โดยในพื้นที่มีแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ สภาพแวดล้อมของพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งป่า ภูเขา แม่น้ำ จึงมีตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับพญาช้างกับนางผมหอมของคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง และมีการจัดงานเพื่อการสักการะบูชาเป็นประจำทุกปี โดยวัฒนธรรมของชุมชนที่คงอยู่และถือปฏิบัติ จะเกี่ยวเนื่องกับประเพณี 12 เดือน ส่วนวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปหัตถกรรมที่ขาดการสืบสานและต้องมีการอนุรักษ์ไว้ ประกอบด้วย ซอกะบั้ง ธุงจากไม้ไผ่ เครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า เครื่องประดับจากหินสีและดินเผา 2) รูปแบบในการอนุรักษ์วัฒนธรรม มี 8 รูปแบบ ดังนี้ (1) รูปแบบของการจัดตั้งกลุ่มการผลิตและการอนุรักษ์ (2) รูปแบบของการจัดหลักสูตรการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน (3) รูปแบบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติให้กับชุมชน (4) รูปแบบการอบรมสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจ (5) รูปแบบสื่อเสียงตามสายของชุมชน (6) รูปแบบการทำเอกสารสิ่งพิมพ์และสื่อสารสนเทศออนไลน์ (7) รูปแบบกลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ และ (8) รูปแบบแหล่งเรียนรู้ |